![]() |
http://www.tsi-thailand.org |
ยุคตกต่ำของดอกเบี้ยกลายเป็น “ฝันร้าย” ของชมรมคนพิสมัยดอกเบี้ยใครที่เคย “ฝันหวาน” เพราะได้นอนกอดดอกเบี้ยเงินฝากสูงราวๆ 14% - 16% ต่อปี อย่างเมื่อ 20 ปีก่อน อาจต้อง “ฝันค้าง” เมื่อตื่นมาเจอโลกแห่งความเป็นจริงที่ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ดำดิ่งลงไปเกือบถึง 0%
หักลบกับอัตราเงินเฟ้อแล้วติดลบด้วยซ้ำไป
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกอยู่ตลอดเวลาว่า... ดอกเบี้ยทำให้เงินในกระเป๋าของคุณไม่ออกดอกออกผลอย่างที่ใจคิด ลองเปลี่ยนบรรยากาศไปหาทางเลือกใหม่ๆ บ้างดีไหม เผื่อจะทำให้ความมั่งคั่งร่ำรวยเฉียดเข้าใกล้ชีวิตคุณบ้าง
เอาล่ะ... ถึงเวลาออกเดินทาง สานสร้างเส้นทางรวยด้วย “การลงทุน” กันแล้ว!!!
สำหรับผู้ลงทุนมือใหม่หรือหลายๆ คนที่สนใจลงทุน แต่ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่รู้จะลงทุนอย่างไร ไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหน ลองเริ่มจาก “รู้จักตัวเอง” ให้ลึกซึ้งขึ้นอีกนิด ถามตัวเองให้แน่ใจก่อนว่า “เป้าหมาย” การลงทุนของคุณคืออะไร ลงทุนเพื่อบั้นปลายชีวิต เพื่อลดหย่อนภาษี เพื่อเอาชนะเงินเฟ้อ หรือเพื่อทำกำไร ฯลฯ
จากนั้นค่อยพิจารณา “เงื่อนไข” ในการลงทุน ว่าคุณรับความเสี่ยงได้แค่ไหน ต้องการผลตอบแทนเท่าไหร่มีเงินลงทุนมากน้อยเพียงใด หรือมีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาหรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านี้แหละที่จะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีว่า... ทางเลือกการลงทุนแบบไหนที่จะเหมาะกับคุณมากที่สุด
เมื่อรู้จักตัวเองมากขึ้นแล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลา “รู้จักเครื่องมือ” กันเสียที คำว่า “เครื่องมือ” ในที่นี้ก็หมายถึง“ทางเลือกการลงทุน” นั่นเอง ยิ่งทุกวันนี้มีทางเลือกการลงทุนหลากประเภท หลายสายพันธุ์ ทั้งหุ้นสามัญ พันธบัตรหุ้นกู้ กองทุนรวม ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ และอื่นๆ อีกมากมาย แถมแต่ละประเภทต่างก็มีรายละเอียดและความซับซ้อนที่แตกต่างกันออกไป
ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติเฉพาะตัว ความเสี่ยง และผลตอบแทน ตลอดจนข้อดีข้อเสียของทางเลือกต่างๆจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้คุณจัดสรรเงินลงทุนได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้
เช่นว่า... คุณมีเงินลงทุนอยู่ก้อนหนึ่ง อยากได้ผลตอบแทนสูงหน่อย รับความเสี่ยงได้เยอะเพราะอายุุแค่ 28 ปี ถ้าโจทย์เป็นแบบนี้ “หุ้น” อาจเป็นคำตอบของคุณ แต่ถ้าคุณบอกว่าอยากเสี่ยงน้อยหน่อยผลตอบแทนไม่ต้องสูงมากก็ได้ “พันธบัตร” หรือ “หุ้นกู้” ก็อาจจะเหมาะกับคุณมากกว่า
หรือถ้าคุณกำลังมองหาช่องทางประหยัดภาษีอยู่ ก็ต้องแฝดพี่น้องคู่นี้ “กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)” และ “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)” รับรองช่วยประหยัดภาษีได้แน่นอน
แต่เหนือสิ่งอื่นใด โจทย์และความชื่นชอบของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เอาเป็นว่า... เลือกลงทุนในแบบที่คุณพอใจก็แล้วกันเพราะนั่นคือเงินของคุณ คุณจึงต้องใส่ใจในทุกรายละเอียด
สุดท้าย นอกจากรู้จักตัวเองและรู้จักเครื่องมือในการลงทุนแล้ว ก็ต้อง “รู้จักจังหวะลงทุน” ด้วย เพราะการรู้และเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเมือง สังคม จิตวิทยามวลชน หรือปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อทิศทางการลงทุนจะทำให้คุณสามารถกำหนดกลยุทธ์การลงทุนในภาวะตลาดที่แตกต่างกัน รวมถึงสามารถโยกย้าย เงินลงทุนไปยังทางเลือกอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสมด้วย
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ลืมไม่ได้เลย ก็คือ ในโลกนี้ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ ดอกผลจากการลงทุนที่งอกเงยกว่าเงินฝากจึงมาพร้อมกับ “ความเสี่ยง” ที่เพิ่มขึ้น แต่คุณสามารถจัดการกับความเสี่ยงเหล่านี้ได้ด้วยการ “จัดสรรเงินลงทุน”(Assets Allocation) ไปในทางเลือกการลงทุนหลายๆ ประเภท ดังกฎเหล็กการลงทุนที่ว่า "Don’t put"
"all eggs in one basket" แปลง่ายๆ คือ “อย่าใส่ไข่ทั้งหมดไว้ในตะกร้าใบเดียว”ซึ่งบรรดาผู้ลงทุนทั้งหลาย ทั้งผู้ลงทุนชั้นเซียนหรือมือใหม่น่าจะคุ้นเคยกันดีและท่องจำได้ขึ้นใจเพราะไม่ว่าจะตำราหรือคัมภีร์ลงทุนเล่มไหนก็ย้ำนักย้ำหนาว่าให้ “กระจายความเสี่ยง”(Diversification)
เหตุผลที่ไม่ควรทุ่มเงินไปกับการลงทุนประเภทใดประเภทหนึ่งมากเกินไป เพราะหากผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คาดไว้คุณอาจสูญเสียเงินทั้งหมดในคราวเดียวกัน แต่หากคุณรู้จักจัดสรรการลงทุนอย่างเหมาะสม โดยพิจารณาถึงความสัมพันธ์ และทิศทางการขึ้นลงของราคาที่แตกต่างกัน การขาดทุนจากการลงทุนประเภทหนึ่ง อาจถูกชดเชยด้วยกำไรจากการลงทุนอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงได้แล้ว ยังช่วยให้คุณได้รับผลตอบแทนรวมที่ไม่ขี้เหร่จนเกินไปด้วย
อย่างไรก็ตาม การกระจายความเสี่ยงต้องตั้งอยู่บน “ความพอดี” ทุกวันนี้มีผู้ลงทุนจำนวนไม่น้อยที่มุ่งมั่นกระจายความเสี่ยงอย่างตั้งอกตั้งใจและจริงจังจนล้ำเส้นความพอดี มีหุ้นตัวเล็กตัวน้อยซุกไว้จนนับไม่ถ้วน หรือหว่านซื้อกองทุนเยอะเป็นดอกเห็ด แทนที่จะช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนได้ กลับกลายเป็นไม่สามารถดูแลพอร์ตได้อย่างทั่วถึงและอาจส่งผลร้ายกับเงินลงทุน
ทางที่ดี... ควรเดินบนทางสายกลาง หาความพอดิบพอดีให้พอร์ตการออมและการลงทุนของตัวคุณเอง เพียงแค่นี้ก็ช่วยกรองความเสี่ยงได้ระดับหนึ่งแล้ว
ฝากทิ้งท้ายไว้อีกนิดกับประโยคยอดฮิตที่ว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน”
|
การลงทุน คือ?
“การลงทุน” คือ การที่เราใช้จ่ายเงินสดรูปแบบหนึ่งในปัจจุบัน โดยมุ่งหวังจะได้รับผลตอบแทนจากการใช้จ่ายนั้นในอนาคต ซึ่งผู้ลงทุนเชื่อว่าเงินสดหรือผลตอบแทนส่วนเพิ่มที่จะได้รับคืนนั้น จะสามารถชดเชยระยะเวลา อัตราเงินเฟ้อ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างคุ้มค่า หรืออาจกล่าวได้ว่า
“การลงทุน” หมายถึง การออมเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น ซึ่งเราจะต้องยอมรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน การตัดสินใจนำเงินออมมาลงทุน เราจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวังไว้และเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุน
ในตลาดการเงินปัจจุบัน มีทางเลือกสำหรับการลงทุนให้เราเลือกมากมาย ทั้งสินทรัพย์ทางการเงิน (Financial Assets) ประเภทพันธบัตร หุ้นกู้ หุ้นทุนกองทุนรวมประเภทต่างๆ หรือ สินทรัพย์ที่จับต้องได้ (Tangible Assets) เช่น ทองคำ ที่ดิน อาคาร เพชรนิลจินดา เครื่องประดับ การมีความรู้ความเข้าใจในสินทรัพย์ที่จะลงทุนจึงมีความสำคัญต่อเรามาก "การลงทุนโดยไม่มีความรู้ หรือไม่เข้าใจในเรื่องความเสี่ยงและทางเลือกในการลงทุนดีพอ ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด"
ทำไมเราจึงควรลงทุน ?
การลงทุนอย่างถูกวิธีและมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องจะช่วยให้เรามีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นและสร้างความมั่งคั่งได้รวดเร็วขึ้น การลงทุนที่มีการกระจายการลงทุนอย่างดียังช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของผลตอบแทนที่จะได้รับ จึงมีส่วนช่วยสนับสนุนให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น
นอกจากนี้ เงินลงทุนยังมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศด้วย เพราะเงินส่วนนี้จะหมุนเวียนไปยังผู้ขาดแคลนเงินทุนหรือผู้ที่ต้องการเงินทุนผ่านตัวกลางทางการเงินหลากหลายรูปแบบในระบบการเงิน ให้ได้นำไปใช้ในการพัฒนาหรือขยายธุรกิจ ทั้งในรูปของเงินให้กู้หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ธุรกิจต้องการเงินทุนเพื่อการเริ่มธุรกิจ การสร้างโรงงาน การซื้อเครื่องจักร การจ้างแรงงาน การซื้อวัตถุดิบ การขยายการผลิต รวมทั้งการลงทุนในโครงการของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งการผลิตและการลงทุนเหล่านี้จะก่อทำให้เกิดการจ้างแรงงาน และส่งผลต่อเนื่องไปสู่ธุรกิจภาคส่วนตาอื่นๆ การลงทุนจึงเป็นตัวสะท้อนความมั่งคั่งของประเทศที่สำคัญอีกด้วย
ซึ่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมในลักษณะนี้จะทำให้เรามีสถานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นไป
ด้วย
![]() |
http://www.tsi-thailand.org |
ชีวิต คือการลงทุน
มีเงินมากมายแต่ชีวิตไร้ค่า ไร้ความสุขคงไม่ดีแน่ เพราะความพอดีเป็นสิ่งสำคัญ การลงทุนที่ดีจึงต้องยึดหลัก“ลงทุนอย่างพอดี” เช่นกัน เพราะชีวิตคือการลงทุน เราจึงต้องสร้างความพอดีจากการลงทุนอย่างครบวงจรไม่จำกัดเฉพาะการลงทุนในสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์เท่านั้น แต่เราควรจะกระจายการลงทุนให้ครบทุกด้านของชีวิต
- ลงทุนเพิ่มพูนความรู้ เช่น การเรียนต่อ การเข้าอบรมสัมมนา เรียนทำขนม เรียนวาดรูป ฯลฯ
- ลงทุนลงเสาเข็มในครอบครัวให้มั่นคง เพราะครอบครัวจะอยู่เคียงข้างเราตลอดไป การดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน แบ่งเวลาให้กันอย่างเหมาะสม จะสร้างความร่ำรวยทางอารมณ์ ได้อย่างดีที่สุด
- ลงทุนดูแลสุขภาพ เพราะการไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ การมีเงินมากมาย แต่สุดท้ายต้องจ่ายเป็นค่าหมอค่ายาก็คงจะแย่ เพราะไม่ได้ใช้สตางค์สร้างความสุข ทั้งช่วงที่ทำงานและ เมื่อหมดแรงทำงาน
- ลงทุนให้รางวัลกับชีวิตบ้าง เช่น ไปเที่ยวต่างจังหวัด หาวันหยุดพักผ่อนอยู่เฉยๆ ไปทำสปา ฯลฯ
ให้เงินทำงานกันดีกว่า
![]() |
http://www.tsi-thailand.org |
คุณรู้หรือไม่... มีวิธีใช้เงินซื้อของที่เราต้องการได้ โดยไม่ต้องกลัวว่าเงินจะหมด และไม่ต้องกังวลกับการเป็นหนี้สถาบันการเงิน
วิธีที่ว่านี้ คือ “ให้เงินทำงานให้เราก่อน” เริ่มง่ายๆ จากการอดทนรอสักนิด แทนที่จะนำเงินไปซื้อของ ที่ต้องการทันที ก็ให้นำเงินก้อนนั้นไปลงทุนเพื่อหาดอกผลเพิ่มเติมก่อน จากนั้นจึงนำดอกผลที่ได้หรือเงินรุ่นลูกไปทำงานต่อจนได้ดอกผลเป็นเงินรุ่นหลาน แล้วค่อยนำเงินออกมาใช้
เพียงเท่านี้... คุณก็สามารถใช้เงินได้อย่างไม่รู้จักหมด และยังเป็นคนที่รวยอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย
ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ
บทความโดย : The Stock Exchange of Thailand
![]() |
http://financial-autonomy.blogspot.com |
เพิ่มเติม อิสรภาพทางการเงิน หมายถึงอะไร ?
อิสรภาพทางการเงิน หรือ Financial Freedom หมายถึง เรามีอิสระอยากจะทำอะไรก็ได้ โดยไม่มีคำว่า " เงิน " เข้ามามีผลต่อการตัดสินใจ เช่น ในร้านอาหารหรูแห่งหนึ่ง เราสามารถดูแค่ชื่ออาหารในเมนูซ้ายมือแล้วชี้นิ้วสั่งเมนุที่เราอยากกินได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องดูราคาทางด้านขวามือ แบบนี้แหละคือตัวอย่าของชีวิตที่มีอิสรภาพทางการเงิน
***สุดท้าย*** : การที่เราจะมีอิสรภาพทางการเงินได้นั้น เราต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่ารายจ่าย แต่ถึงแม้ว่าเราอาจจะมีรายได้สูงกว่ารายจ่ายจริง ก็ถือว่ายังไม่มีอิสรภาพทางการเงินที่แท้จริง เพราะอิสรภาพทางการเงินที่แท้จริงนั้นคือ เราไม่จำเป็นต้องทำงานหนักทุกวัน หรือแม้กระทั่งเราไม่ต้องทำงานเลยแต่กลับมีรายได้เพิ่มขึ้นมาในกระเป๋าของเราอยู่ตลอดเวลา และด้วยมุมมองลักษณะนี้ จึงทำให้หลายคนอยากเป็นคนที่มีอิสรภาพทางการเงิน
หนังสือ "เล่นหุ้นออนไลน์ไม่ยาก"
ผู้เขียน วีรวัฒน์ วีรวรรณ
คุณคือ "นักลงทุนแบบไหน" ?
งานวิจัยของ Marilyn MacGruder Barnwall แห่ง MacGruder Agency แบ่งประเภทของนักลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่ รับได้ ออกเป็น 2 ประเภท คือ
- นักลงทุนประเภทรอรับผล (Passive Investor) ที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงหรือยอมรับความเสี่ยงได้ไม่มากนัก จึงมักจะลงทุนผ่านการจัดการลงทุนโดยมืออาชีพ
- นักลงทุนประเภทมุ่งหวังผล (Active Investor) ที่เห็นว่ามีโอกาสในการลงทุนเสมอ จึงชอบความเสี่ยง และมักจัดการลงทุน
ด้วยตนเอง
นอกจากนี้ ยังมีบทวิเคราะห์ของ Bailard, Biehl & Kaiser Five-Way Model (BB&K) ที่แบ่งนักลงทุนออกเป็น 5 ประเภท โดยพิจารณาจากแนวปฏิบัติ ซึ่งสะท้อนออกมาจากความมั่นใจหรือความวิตกกังวลของแต่ละบุคคล
![]() |
http://www.tsi-thailand.org |
รู้ทัน... ความเสี่ยงในการลงทุน
เพราะ ความเสี่ยง คือ ความไม่แน่นอน และความเสี่ยงอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หากถามว่าความเสี่ยงมีกี่ประเภท คำตอบที่ได้รับก็จะมีความหลายหลากมาก เพราะเราสามารถแบ่งประเภทของความเสี่ยงได้จากหลายมุมมอง โดยภาพกว้างๆ เราสามารถแบ่งความเสี่ยงเป็น 2 ประเภท คือ
1. ความเสี่ยงทั้งระบบ (Systematic Risk) เป็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบในวงกว้างและเป็นความเสี่ยงที่เราไม่สามารถกำจัดให้หมดไปได้แม้ว่าเราจะกระจาย การลงทุนอย่างดีแล้วก็ตาม อย่างเช่น วิกฤติซับไพรม์ที่ทำให้ราคาหุ้นในตลาดทั่วโลกลดลงอย่างรุนแรงและรวดเร็วเป็นต้น
2. ความเสี่ยงเฉพาะตัว (Unsystematic Risk) เป็นความเสี่ยงเฉพาะของหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ที่เราลงทุนไว้เท่านั้น ไม่ได้เกิดขึ้นกับหลักทรัพย์อื่นๆ เช่น ข่าวการพบสารเมลามีนปนเปื้อนในนม จะส่งผลต่อยอดขายและราคาหุ้นของบางบริษัทเท่านั้น ซึ่งการกระจาย การลงทุนที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงประเภทนี้ได้
“การจัดการความเสี่ยง” ไม่ได้หมายถึงการ “กำจัด” ความเสี่ยงหรือความเสียหายให้หมดไป แต่หมายถึงการ“จำกัด” ความเสี่ยงหรือความเสียหายให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดต่างหาก
ความเสี่ยงในการลงทุน... ที่ควรรู้จัก
ดังที่กล่าวไปแล้วในตอนต้นว่า... การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน โดยหนึ่งในข้อมูลสำคัญที่ผู้ลงทุนควรศึกษาก็คือ “ข้อมูลด้านความเสี่ยงในการลงทุน” ซึ่งมีมากมายและพอจะสรุปได้ดังนี้
- ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง การที่เราไม่สามารถเปลี่ยนหลักทรัพย์เป็นเงินสดได้เมื่อต้องการ
- ความเสี่ยงของตลาด ภาวะราคาหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพราะพฤติกรรมของผู้ลงทุนในตลาดที่เกิดจากข่าวทางการเมืองเศรษฐกิจหรือสังคม ซึ่งไม่ได้เกิดจากปัจจัยพื้นฐานที่แท้จริง
- ความเสี่ยงการจากผิดนัดชำระ อาจทำให้เราไม่ได้รับผลตอบแทนหรือต้องเสียเงินลงทุน
- ความเสี่ยงทางธุรกิจ เป็นความเสี่ยงจากการทำธุรกิจของบริษัทที่เราไปลงทุนไว้ ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยทางเศรษฐกิจหรือการบริหารและการดำเนินงานภายในของบริษัทเอง
- ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง มักส่งผลกระทบรุนแรงต่อธุรกิจ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ภัยธรรมชาติ หรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้สินค้าบางอย่างต้องออกไปจากตลาด
กระจายการลงทุน... คุณก็ทำได้
ในโลกของการลงทุน “ความเสี่ยงและผลตอบแทน” มักจะเกิดควบคู่กันเสมอ และหนทางเดียวที่จะสามารถจัดการความเสี่ยงในการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ “การกระจายการลงทุน”
จากผลงานวิจัยของ Harry Markowitz จะพบว่า“การจัดสรรสินทรัพย์ลงทุน” เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีผลต่อการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน โดยมีสัดส่วนสูงถึง 94% ส่วนที่เหลืออีก 6% เป็น “การคัดเลือกสินทรัพย์ลงทุน”และ “การจับจังหวะตลาด” ซึ่งอาจจะให้ผลตอบแทนสูงเป็นครั้งคราวในระยะสั้น แต่ในระยะยาวแล้วไม่สามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปิรามิดการลงทุน
แนวทางการจัดสรรเงินลงทุนที่เป็นที่ยอมรับและใช้กันทั่วไป คือ “การกระจายเงินลงทุนเป็นรูปปิรามิด” หรือที่เรียกว่า “ปิรามิดการลงทุน” โดยจะจัดสรรเงินลงทุนส่วนใหญ่ไปในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ สามารถทำนายผลตอบแทนได้ เช่น พันธบัตรรัฐบาลกองทุนตราสารระยะสั้น ตั๋วเงินคลัง เงินฝากธนาคาร ฯลฯ และจัดสรรเงินลงทุนส่วนน้อยหรือบางส่วนไปในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หุ้น อสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวม ฯลฯ เพื่อสร้างผลตอบแทนให้เพิ่มขึ้น
![]() |
http://www.tsi-thailand.org |
บริหารพอร์ตการลงทุนด้วยตัวเอง
ผู้ลงทุนส่วนใหญ่รู้จักกับคำว่า “การบริหารพอร์ตการลงทุน” หรือ “Portfolio Management”
เป็นอย่างดี แม้บางครั้ง... ฟังแล้วอาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ยุ่งยากในทางปฏิบัติ แต่ความจริงแล้วการบริหารพอร์ตการลงทุนมีหลักพื้นฐานง่ายๆ อยู่ไม่กี่ข้อ ดังนี้
เป็นอย่างดี แม้บางครั้ง... ฟังแล้วอาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ยุ่งยากในทางปฏิบัติ แต่ความจริงแล้วการบริหารพอร์ตการลงทุนมีหลักพื้นฐานง่ายๆ อยู่ไม่กี่ข้อ ดังนี้
- กระจายความเสี่ยงอย่างสมดุล ไม่ลงทุนในทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งด้วยเงินทั้งหมดที่มี
- ไม่หลากหลายหรือกระจัดกระจายมากเกินไป เพราะจะทำให้ยากในการติดตามราคาและข่าวสารเกี่ยวกับทางเลือกการลงทุนนั้นๆ
- มีสัดส่วนการลงทุนเหมาะสมกับเป้าหมายของตัวเอง มีความสมดุลระหว่างการลงทุนในทางเลือกที่มีความเสี่ยงน้อย ให้ผลตอบแทนแน่นอนกับการลงทุนในทางเลือกที่มีความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนสูง แต่อาจจะได้บ้างเสียบ้าง โดยผู้ลงทุนแต่ละคนจะเป็นผู้กำหนดสัดส่วนที่เหมาะสมเอง
- มีความยืดหยุ่นระดับหนึ่ง สามารถปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนได้เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป
นอกจากหลักพื้นฐานข้างต้นแล้ว การบริหารพอร์ตการลงทุนที่ดีต้องมีการ “ติดตามและปรับพอร์ตการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ” เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การลงทุน และเหมาะกับสภาวะตลาดในขณะนั้นๆ โดยในปัจจุบันผู้ลงทุนสามารถทดลองลงทุนและบริหารพอร์ตการลงทุนด้วยตนเองได้โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนจริงผ่านเมนู “พอร์ตการลงทุนจำลอง”(VirtualPortfolio)ในเว็บไซต์ www.settrade.com
จัดสำรับการลงทุนตามวัย
เรื่อง “วัย” และ “อายุ” คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นตัวแปรสำคัญในการจัดสรรเงินลงทุน ทั้งที่จริงแล้วปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดสรรเงินลงทุนของแต่ละคนนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับรื่องนี้เพียงเรื่องเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับตัวแปรอีกหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นสถานภาพทางการเงิน วัตถุประสงค์การลงทุน ระยะเวลาในการลงทุน อาชีพ หน้าที่การงานไปจนถึงภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ
แล้ววัยไหนควรจะลงทุนอย่างไร? เรื่องพวกนี้รู้ไว้ไม่เสียหลาย เผื่อจะได้มีแนวทางในจัดพอร์ตการลงทุนอย่างมีแบบแผนและสอดรับกับวัยของตัวเอง ซึ่งจะนำไปสู่เส้นทางแห่งความมั่งคั่งในที่สุด
- วัยเริ่มต้นทำงาน อายุ 21 - 30 ปี เป็นวัยที่ได้เปรียบในการออมและการลงทุนมากที่สุด เพราะยังไม่มีภาระที่ต้องรับผิดชอบมากนัก มีเวลาและกำลังในการหารายได้อีกนาน จึงสามารถจัดสรรเงินไปลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงสูงอย่างหุ้นได้ถึง 90% โดยหุ้นที่เลือกลงทุนควรเป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีความมั่นคงทางการเงิน มีเงินปันผลที่น่าพอใจ และมีโอกาสเติบโตในอนาคต ส่วนอีก 10% ที่เหลือควรเก็บไว้ในรูปของเงินฝากและตราสารหนี้ต่างๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้ที่มีความปลอดภัยของเงินต้นสูง และได้อัตราดอกเบี้ยที่แน่นอน
![]() |
http://www.tsi-thailand.org |
- วัยสร้างครอบครัว อายุ 31 - 40 ปี เป็นช่วงที่เหนื่อยที่สุดในชีวิต และเป็นช่วงที่การเงินค่อนข้างจะตึงเครียดกว่าช่วงอื่นๆ แม้หน้าที่การงานจะเริ่มมั่นคง รายได้ เพิ่มสูงขึ้น แต่ภาระค่าใช้จ่ายก็สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว เพราะอยู่ในช่วงที่กำลังสร้างครอบครัว แต่งงาน ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ฯลฯ เมื่อมีภาระที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ก็น้อยลง ผู้ที่อยู่ในวัยนี้จึงควรลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นลงเหลือเพียง 50% ขณะเดียวกันก็เพิ่มสัดส่วนของเงินฝากและตราสารหนี้ให้มากขึ้นเพื่อบาลานซ์ความเสี่ยง
![]() |
http://www.tsi-thailand.org |
- วัยปึกแผ่นมั่นคง อายุ 41 - 55 ปี เป็นช่วงที่ชีวิตมีหลักฐานมั่นคงที่สุด ฐานเงินเดือนสูงขึ้น แม้จะยังมีภาระทางการเงินอยู่ แต่ก็ผ่อนคลายลงไปมากไม่เหมือนช่วงก่อนหน้านี้ หากเก็บออมและลงทุนอย่างมีวินัย มาตั้งแต่ต้น ช่วงนี้น่าจะเป็นช่วงที่ครอบครัวและฐานะทางการเงินดี มีความสมดุลที่สุดในทุกๆ ด้าน แต่เนื่องจากวัยที่ เริ่มมากขึ้น มีเวลาหารายได้เหลืออีกไม่กี่ปี การลงทุนของคนวัยนี้จึงเน้นให้้นำเงิน 70% ไปไว้ในที่ปลอดภัยอย่างเงินฝาก และตราสารหนี้ ส่วนที่เหลืออีก 30% ให้แบ่งมาลงทุนใน หุ้นระยะยาว เพื่อเพิ่มพูนเงินออมและเงินลงทุนให้มากขึ้น นอกเหนือจากดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับ
![]() |
http://www.tsi-thailand.org |
- วัยเกษียณ อายุ 55 ปีขึ้นไป เป็นช่วงที่บางคนไม่มีรายได้จากการทำงานแล้ว ขณะที่บางคนก็เหลือเวลาหารายได้อีกไม่เกิน 5 ปี ในช่วงนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ได้ ด้วยเงินสะสมของตนเอง แม้ค่าใช้จ่ายบางอย่างจะลดลง แต่ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้นตามวัยและสุขภาพ เงินออม เกือบทั้งหมดในชีวิตจึงควรอยู่ในรูปของเงินฝากและตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่ใช่ว่าคนวัยนี้จะลงทุนในหุ้นไม่ได้ หากใครมีทรัพย์สินเงินทองเก็บออมไว้มากพอ ก็อาจจัดสรรเงินไม่เกิน 10% ไปลงทุนในหุ้น เพื่อหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้น ถึงแม้จะผิดพลาดเกิดสูญเงินก้อนนี้ไปก็คงไม่กระทบฐานะการเงินโดยรวมมากนัก
![]() |
http://www.tsi-thailand.org |
จัดทัพลงทุน... เลือกทัพให้เหมาะกับตัวคุณ
นอกจาก “วัย” หรือ “อายุ” แล้ว “ความสามารถในการรับความเสี่ยง” (Risk Tolerance) ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่คุณควรนำมาพิจารณาในการจัดพอร์ตการลงทุนด้วย เพราะบางครั้งการลงทุนก็ไม่ได้จำกัดที่อายุเพียงอย่างเดียว บางคนอายุน้อย แต่ไม่ชอบความเสี่ยง ก็อาจเลือกลงทุนแบบเสี่ยงน้อยๆ ในทางกลับกัน บางคนที่อายุมาก อยู่ในวัยเกษียณแล้ว แต่เป็นผู้รอบรู้ มีประสบการณ์การลงทุน รับความเสี่ยงได้มาก และมีเงินลงทุนมากก็อาจจะลงทุนแบบเสี่ยงมากๆ ได้
![]() |
http://www.tsi-thailand.org |
ในช่วงเริ่มต้นหรือช่วงที่รู้สึกว่ายอมรับความเสี่ยงได้น้อย ควรจัดพอร์ตระมัดระวัง (Conservative)โดยการลงทุนในหุ้นประมาณ 30% ตราสารหนี้ 40% และเงินสด 30%
หลังจากนั้น เมื่อมีความชำนาญในการลงทุน และคุ้นเคยกับความผันผวนของผลตอบแทนมากขึ้นแล้ว(ความเสี่ยงและผลตอบแทนไม่มากไม่น้อย) ควรจัดพอร์ตปานกลาง (Moderate) โดยเพิ่มการลงทุนในหุ้นเป็น 50% ตราสารหนี้ 30% และที่เหลือเป็นเงินสด 20%
และเมื่อมีเงินออมมากขึ้นหรือเป็นมืออาชีพแล้ว (รับความเสี่ยงได้มาก) ผู้ลงทุนอาจจัดพอร์ตเชิงรุก (Aggressive) โดยการลงทุนในหุ้นเพิ่มเป็น 70% ของเงินลงทุน ส่วนที่เหลือแบ่งลงทุนในตราสารหนี้ 20% และเงินสด 10%
จากแนวทางการจัดสรรเงินลงทุนข้างต้น จะเห็นว่าสัดส่วนการลงทุนในหุ้นนั้นจะแปรผันตามความสามารถในการรับความเสี่ยง กล่าวคือ หากคุณสามารถรับความเสี่ยงได้มาก ก็ควรแบ่งเงินไปลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ เพราะหุ้นนั้นเป็นสินทรัพย์ที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าตราสารการเงินประเภทอื่นๆ ในระยะยาว รองลงมาได้แก่ ตราสารหนี้ ส่วนเงินฝากนั้นจะให้อัตราผลตอบแทนต่ำสุด อาจจะใกล้เคียงหรือต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างที่ยกมาให้ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวทางเบื้องต้นที่จะทำให้คุณเข้าใจถึงวิธีการสร้าง พอร์ตการลงทุนเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวใดๆ ที่จะบอกถึงสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสม
5 วิธีสร้างพอร์ตอย่างปลอดภัย
- ไม่รู้ ไม่ลงทุน เพราะ “ความไม่รู้คือความเสี่ยง” ผู้ลงทุนจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่จะลงทุน และรู้จักประเมินความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของตนเองด้วย
- มีวินัยในการลงทุน ไม่ควรหวั่นไหวไปกับข่าวลือหรือเห็นแก่ผลประโยชน์เล็กน้อยจนต้องปรับพอร์ตบ่อยๆเพราะการตามใจตัวเองบ่อยๆ จะทำให้เสียนิสัยและวินัยในการลงทุน
- กระจายการลงทุนอย่างเหมาะสม ทั้งประเภทสินทรัพย์และจำนวนหลักทรัพย์ รวมทั้งกระจาย
การลงทุนไปตามระยะเวลา ทั้งระยะกลางและระยะยาว - ปรับพอร์ตสม่ำเสมอ ไม่บ่อยเกินไปแต่ก็ไม่ควรเว้นระยะนานเกินไป โดยดูสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินที่เกี่ยวข้องประกอบ
- อดทน จุดอ่อนของผู้ลงทุนส่วนใหญ่ ก็คือ มักจะอดทนต่อสิ่งเร้าได้ไม่ดีพอจึงขาดความรอบคอบในการตัดสินใจลงทุน
เคล็ดลับการลงทุนสไตล์... ปรมาจารย์
ว่ากันว่า... “การลงทุน” คล้ายกับการเล่นกีฬา เพราะการเล่นกีฬาจะประสบความสำเร็จได้ชัยชนะนั้นต้องมีความชำนาญ ทักษะพื้นฐานที่ดี ต้องฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับ “การลงทุน” ที่เราต้องขยันเรียนรู้ และอดทนที่จะค้นหาแนวทางลงทุนที่เหมาะกับตัวเอง ซึ่งเคล็ดลับการลงทุนด้านล่างนี้เหมาะสำหรับผู้ที่กำลัง สนใจลงทุนหรือกำลังลงทุนอยู่
- มีความรอบรู้ (Breadth) ต้องมีความกระตือรือร้นสนใจเรื่องราวต่างๆ รอบตัว และนอกจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนโดยตรงแล้ว ยังต้องให้ความสนใจกับสิ่งอื่นๆ ด้วย
- ช่างสังเกต (Observation) ต้องช่างสังเกต ใส่ใจรายละเอียด และจดจำข้อมูลที่สำคัญๆ ได้ ซึ่งจะทำให้สามารถวิเคราะห์ และประเมินผลกระทบภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่าคนอื่น
- รักษาวินัย (Discipline) ต้องรู้จักอดทน อดกลั้น รอคอยจังหวะและโอกาส ไม่ตัดสินใจตามกระแส มีความมั่นคงในหลักการและวิธีการลงทุนของตนเอง หากไม่มีวินัยและไม่มีใจหนักแน่นพอ ก็อาจถูกชักจูงไปในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้ง่ายๆ
- มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ต้องมองเห็นความเชื่อมโยงของข้อมูลต่างๆ และสามารถประติดประต่อข้อมูลเหล่านั้นจนมองเห็นภาพรวมของสิ่งต่างๆ ได้ เช่น สภาวะเศรษฐกิจส่วนรวมของไทย เศรษฐกิจโลก ฯลฯ
- มีความยืดหยุ่น (Flexibility) ต้องเตรียมใจให้พร้อมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นทั้งในด้านดีและไม่ดีได้ทุกเมื่อเปิดใจพร้อมที่จะยอมรับข้อมูลใหม่ๆ และโลกทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ไม่ยึดติดกับความคิดหรือความเชื่อบางอย่างตายตัวเกินไป
![]() |
http://www.gotoknow.org/ |
อะไรคือปัจจัยแห่งความสำเร็จในการลงทุน?
- เพราะผลตอบแทนที่มากขึ้นจากการลงทุน จะมาพร้อมกับความเสี่ยงที่มากขึ้นด้วยเสมอ นักลงทุนจะประสบความสำเร็จได้ จึงต้องมีความรู้และมีวินัยในการลงทุน โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจในเรื่องสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ที่จะลงทุน ความเสี่ยง สภาวะเศรษฐกิจ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยขจัดอุปสรรคสำคัญในการลงทุนได้ เพราะความรู้และวินัยเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด ที่คอยปกป้องเราจากความโลภและความกลัว และจะต้องระลึกอยู่เสมอว่า การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน
- การกระจายการลงทุนโดยการสร้างกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน (Portfolio) จะช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนได้เป็นอย่างดี เช่น หากมีเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อการทำกำไรของบริษัทที่เราลงทุนไว้ ทำให้บริษัทดังกล่าวไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ รวมทั้งทำให้ราคาหลักทรัพย์ผันผวน อาจส่งผลให้ผลตอบแทนจากหลักทรัพย์ที่ลงทุนไว้ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังการสร้างกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน คือ การจัดสรรเงินลงทุนเพื่อลงทุนในสินทรัพย์มากกว่าหนึ่งประเภท เช่น ถ้ามีเงินลงทุนจำนวน 800,000 บาท อาจเลือกลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ทองคำ หุ้นสามัญของธุรกิจในกลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคาร หุ้นกู้บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ และกองทุนรวม 2 กองทุน เป็นต้น
- ผู้ลงทุนจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่าผลตอบแทน และราคาของสินทรัพย์ที่ลงทุนมีความอ่อนไหวต่อภาวะแวดล้อมค่อนข้างมากและรวดเร็ว การติดตามและทบทวนการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการลงทุน เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจอย่างสม่ำเสมอ เราอาจจะต้องแบ่งเวลาส่วนตัวในแต่ละวันเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร รายงานการวิเคราะห์ หรือบทสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้รับข้อมูล ข่าวสารที่จะเป็นประโยชน์ ไม่เสียโอกาสในการลงทุน และเพื่อให้ทันต่อการรับมือกับสถานการณ์ที่จะส่งผลกระทบต่อการลงทุน
![]() |
http://www.tsi-thailand.org |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
มีข้อสงสัยสามารถแสดงความคิดเห็นเข้ามาได้ครับ เรายินดีตอบกลับให้...