บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เริ่มต้นเล่นหุ้นยังไง ตอนที่ 4

เริ่มต้นเล่นหุ้นอย่างไร?
  •  เลือกเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ โดยสามารถหารายชื่อโบรกเกอร์ได้ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ( www.set.or.th/ )

http://wap.settrade.com/

โบรกเกอร์ (Broker) คือ บริษัทหลักทรัพย์ หรือโบรกเกอร์ (Broker) คือ บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้ผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ และเข้าเป็น  “บริษัทสมาชิก” ของตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้สามารถส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์เข้าสู่ระบบซื้อขาย ของตลาดหลักทรัพย์ฯได้โดยตรง

          เมื่อตัดสินใจว่าจะลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เราจะมีส่วนเกี่ยวพันกับบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในทันที ทั้งนี้ เพราะ กฎหมายได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ลงทุนจะต้องซื้อขายหลักทรัพย์ผ่าน บริษัทนายหน้าเท่านั้น โดยบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นนายหน้าหรือโบรกเกอร์

          จะทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างผู้ลงทุนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ และให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์แบบครบวงจร คือ ตั้งแต่ก่อนการซื้อขาย ไปจนถึงหลังการซื้อขาย โดยจะให้บริการเป็นที่ปรึกษาชี้แนะช่องทางและให้ข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ รวมทั้งส่งสัญญาณเตือนต่างๆ ให้ผู้ลงทุนได้รับทราบ

          ที่สำคัญ คือ โบรกเกอร์ จะเป็นผู้รับคำสั่งซื้อขายของผู้ลงทุนเพื่อส่งเข้าสู่ระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ และยืนยันผลเมื่อการซื้อขายจริงเกิดขึ้น รวมทั้งยังเป็นผู้ดูแลบัญชี ภาษี ข้อกฎหมายและระเบียบปฏิบัติต่างๆ แทนผู้ลงทุนในทุกๆ รายละเอียดอย่างไรก็ตาม การตัดสินใจสุดท้ายเพื่อสั่งซื้อสั่งขายหลักทรัพย์ย่อมอยู่ที่ตัวเราซึ่งเป็นผู้ลงทุน เพราะเราคือผู้ที่ต้องรับผลแห่งการตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียวไม่ว่าผลการซื้อขายหลักทรัพย์นั้นจะนำมาซึ่งกำไรหรือขาดทุน โดยโบรกเกอร์จะไม่มีส่วนร่วมรับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น (ยกเว้นกรณีที่เกิดจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อของบริษัทนายหน้าหรือพนักงานของบริษัทนายหน้านั้น) 

     จึงกล่าวได้ว่า... โบรกเกอร์มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนั้น ก่อนที่เราจะตัดสินใจเลือกเป็นลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์รายใด เราควรที่จะพิจารณาคุณสมบัติต่างๆ ให้รอบคอบและรอบด้านเป็นอย่างดีเสียก่อน

      โดยมีหลักง่ายๆดังนี้

           1.ต้องเป็นพี่เลี้ยงที่ใจดี

            ทำหน้าที่แนะนำเราให้รู้จักก้าวเดินทีละก้าว ตั้งแต่พื้นฐานเรื่อยไปจนถึงเทคนิคที่สูงขึ้นๆ จนกว่าเราจะมีความชำนาญในเรื่องการลงทุน ดังนั้น ในฐานะผู้ลงทุน ไม่ต้องเกรงใจหรือเคอะเขินต่อการตั้งคำถามใดๆ ที่เราไม่รู้หรืออยากรู้

           2.ให้บริการข้อมูลและข่าวสาร

           โบรกเกอร์จะต้องมีความพร้อมในด้านข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วและถูกต้อง สามารถบอกถึงความเคลื่อนไหวที่น่าจับตาให้เราทราบเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนได้ เช่น ถ้าเราเป็นผู้ลงทุนระยะยาว ข้อมูลที่เราควรได้รับน่าจะ ได้แก่การวิเคราะห์แนวโน้มทางเศรษฐกิจ สังคม หรือภาวะต่างประเทศที่จะส่งผลกระทบ ตลอดจนกลุ่มธุรกิจที่น่าจะเติบโตในอนาคต แต่ถ้าเราเป็นผู้ลงทุนประเภทซื้อขายหลักทรัพย์รายวัน หรือรายชั่วโมง ก็ควรที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์แบบวินาทีต่อวินาที ซึ่งได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย สภาวะทางการเมืองดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ โดยโบรกเกอร์จะต้องวิเคราะห์สถานการณ์ให้เราได้อย่างทันท่วงทีและทันต่อเหตุการณ์

           3.สนองคำสั่งซื้อขายของเราได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

           โบรกเกอร์ทุกแห่งต้องแข่งขันกันให้บริการในด้านนี้อยู่แล้ว หากสามารถปฏิบัติตามคำสั่งซื้อขายของลูกค้าได้ถูกต้องรวดเร็ว ย่อมเป็นที่พึงพอใจของลูกค้า และยังมีส่วนทำให้การซื้อขายเพิ่มปริมาณมากขึ้นด้วย ดังนั้น ในกรณีที่เราเป็นผู้ลงทุนระยะสั้น มีการซื้อขายวันละหลายครั้ง ก็ควรเลือกโบรกเกอร์ที่มีเจ้าหน้าที่การตลาดมากเพียงพอ เพื่อจะได้ไม่ต้องรับคำสั่งจากลูกค้าหลายรายจนเกินไป และมีโทรศัพท์มากเพียงพอในกรณีที่เราใช้วิธีซื้อขายทางโทรศัพท์

           4.มีฐานะการเงินมั่นคงและน่าเชื่อถือ

           แต่เดิมตลาดหลักทรัพย์ฯ มีบริษัทสมาชิกรวม 50 บริษัท แต่หลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในประเทศไทยปี 2540 บริษัทสมาชิกถูกปิดกิจการไปหลายแห่ง ทำให้ลูกค้าไม่ได้รับความสะดวก และได้รับความเสียหาย ดังนั้น การพิจารณาฐานะความมั่นคงของบริษัทโบรกเกอร์จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยศึกษารายละเอียดดังกล่าวจากข้อมูลผู้ถือหุ้น ประวัติความเป็นมา ผลการดำเนินงานในอดีต และชื่อเสียงของทีมบริหาร

           5.สิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย

            โบรกเกอร์ที่ดีควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอ ยกตัวอย่างเช่น หากเราเป็นผู้ลงทุนที่มา สั่งซื้อขาย ณ ห้องค้าหลักทรัพย์ด้วยตนเอง อย่างน้อยโบรกเกอร์นั้นควรที่จะต้องมีคอมพิวเตอร์ในปริมาณที่มากเพียงพอ มีบริการด้านข้อมูลอัตโนมัติจากสำนักข่าวชั้นนำต่างๆ และมีจอที่แสดงการวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีทางเทคนิคต่างๆ ประกอบหรือหากเราเป็นผู้ลงทุนที่มีมูลค่าการลงทุนสูงและต้องการความเป็นส่วนตัว โบรกเกอร์นั้นก็ควรมีห้องค้าหลักทรัพย์ส่วนตัว (VIP Room) เพื่อรองรับ เป็นต้น

           6.ระบบเอกสารและบริการหลักการซื้อขาย

             และบริการหลังการซื้อขาย งานเอกสารนับว่ามีความสำคัญ เนื่องจากเป็นเสมือนข้อตกลงอย่างเป็นทางการระหว่างผู้ลงทุนกับโบรกเกอร์ ส่วนบริการหลังการซื้อขายในปัจจุบันโบรกเกอร์หลายแห่งเริ่มใช้ระบบการตัดและโอนบัญชีอัตโนมัติ ดังนั้น เอกสารต่างๆ จึงต้องรัดกุม ง่ายต่อความเข้าใจ ชัดเจน และตรวจสอบได้ตลอดเวลา

           7.ทำเลที่ตั้ง

           ข้อนี้มีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้ลงทุนที่นิยมซื้อขายในห้องค้าหลักทรัพย์ด้วยตนเอง โดยอาจต้องพิจารณาระยะเวลาการเดินทาง สถานที่จอดรถยนต์ ความสะดวก ปลอดภัย ค่าใช้จ่ายจิปาถะที่อาจต้องคำนึงถึงอื่นๆ เช่น ค่าที่จอดรถ นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น ร้านอาหาร ภัตตาคาร และธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เป็นต้น
  ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ
บทความโดย : The Stock Exchange of Thailand


เพิ่มเติม 
    เมื่อคุณเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์เรียบร้อยแล้ว จะมีบุคคลหนึ่งที่จะเข้ามามีส่วนในคำสั่งซื้อ-ขายแต่ละครั้งของคุณมักจะถูกเรียกว่า "เจ้าหน้าที่การตลาดหลักทรัพย์" หรือ" มาร์เก็ตติ้ง" ประจำเรา จะค่อยติดต่อประสานงานในทุกๆเรื่องให้คุณ เช่น ให้ข้อมูลข่าวสาร ทิศทางตลาด การโอนเงิน การชำระเงิน การส่งคำสั่งซื้อ-ขาย เป็นต้น มีปัญหาอะไรให้เราติดต่อผ่านทางมาร์เก็ตติ้งได้เลยครับ



ตัวอย่างข้อมูลการขอเปิดบัญชีกับบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย

     1.ใครสามารถเปิดบัญชีกับ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย ได้บ้าง ?
  
          บุคคลทั่วไปที่สนใจจะลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์ ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ( ไทยและต่างชาติ )


     2.ประเภทของบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?

         ประเภทบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ มี 3 ประเภท ได้แก่

  • บัญชีแคชบาลานซ์ (Cash Balance)
                   บัญชีแคชบาลานซ์จะต้องฝากเงินสด 100ของจำนวนเงินที่ต้องการซื้อหุ้นเพื่อวางหลักประกันเข้ามายังบริษัท จึงจะสามารถซื้อหลักทรัพย์ได้ โดยวงเงินในการซื้อหลักทรัพย์จะเท่ากับเงินสดที่ฝากเข้ามาเป็นหลักประกัน และเมื่อมีการซื้อหรือขายหลักทรัพย์จะถูกหักหรือฝากจากยอดเงินประกันที่ฝากเข้ามา       

      หมายเหตุ บัญชีแคชบาลานซ์ มียอดเงิน 5,000 บาท ก็สามารถเปิดบัญชีได้แล้ว   
                                                     
  • บัญชีเงินสด (Cash Account)

                  บัญชีเงินสดจะต้องฝากเงินหรือฝากหุ้นเข้ามาเพื่อวางหลักประกันก่อนทำการซื้อขายหุ้นเป็นจำนวน 15ของวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุมัติก่อนการซื้อขาย โดยกำหนดวงเงินจะพิจารณาจากหลักฐานทางการเงินของท่านซึ่งจะต้องมีไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท โดยเป็นไปตามเกณฑ์ของบริษัทและเมื่อมีการซื้อหรือขาย บริษัทจะทำการหักค่าซื้อหรือฝากค่าขายหุ้นทั้งจำนวนจากบัญชีธนาคารของท่านผ่านบริการตัดบัญชีอัตโนมัติของธนาคาร (ATS) ในวันทำการที่ 3 (T+3) หลังจากวันที่มีรายการซื้อขายหุ้น นอกจากนี้ท่านยังสามารถสมัครใช้บริการ K-Stock2Fund(บริการสั่งซื้อ/ขายกองทุน K-Treasury หรือ K-Money แบบอัตโนมัติ เพื่อชำระราคาค่าซื้อ/ขายหลักทรัพย์) ควบคู่กับการเปิดบัญชีเงินสด เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับผลตอบแทนที่มากกว่าอัตราดอกเบี้ยออกทรัพย์ระหว่างการรอจังหวะในการลงทุน

  • บัญชีเครดิตบาลานซ์ (Credit Balance)

                  บัญชีเครดิตบาลานซ์ เหมาะสมกับท่านที่ต้องการเพิ่มอำนาจการซื้อหลักทรัพย์โดยการกู้เงินเพื่อใช้ในการซื้อหลักทรัพย์สูงสุด 1 เท่า ของมูลค่าหลักประกันที่นำมาวาง แต่ไม่เกินกว่าวงเงินที่ได้รับการอนุมัติจากบริษัท โดยมีเกณฑ์การอนุมัติวงเงินขั้นต่ำที่ 3,000,000 บาท


    3.สามารถขอรับชุดเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ได้ทางไหนบ้าง ?

  • างโทรศัพท์ โดยติดต่อ KS Call Center เบอร์ 02-6960011 โดยแจ้ง ชื่อ  นามสกุล, ที่อยู่จัดส่งเอกสาร, เบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับ และประเภทบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ที่ต้องการทางเราจะจัดส่งเอกสารกลับไปให้ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้
  • ทางอีเมล ks.cs@kasikornsecurities.com โดยแจ้ง ชื่อ  นามสกุล, ที่อยู่จัดส่งเอกสาร, เบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับ และประเภทบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ที่ต้องการทางเราจะจัดส่งเอกสารกลับไปให้ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้
  • ดาวนโหลดด้วยตนเองผ่านทางหน้าเว็บไซต์ http://www.kasikornsecurities.com/ ที่เมนู เปิดบัญชี
  • ขอรับเอกสารด้วยตนเองผ่านสาขาต่าง ๆ ของหลักทรัพย์กสิกรไทย โดยสามารถดูที่อยู่สาขาได้จากหน้าเว็บไซต์ http://www.kasikornsecurities.com/ เมนู ช่องทางการให้บริการ


   4.จะสามารถเปิดบริการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร 


                    ลูกค้าสามารถสมัครเปิดบริการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านทางเว็บไซต์ของทางบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย ได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ 

              ขั้นตอนที่ 1  ลงทะเบียนใช้งานเว็บไซต์ โดยไปที่ http://www.kasikornsecurities.com/  คลิกที่เมนู เปิดบัญชี เพื่อตั้งUsername และ Password 

              ขั้นตอนที่ 2  ดาวน์โหลดชุดเปิดบัญชี ตามประเภทบัญชีหลักทรัพย์ที่ต้องการ 

              ขั้นตอนที่ 3  ส่งกลับชุดเปิดบัญชี พร้อมเอกสารประกอบ มาที่ ฝ่ายธุรกิจอิเลคทรอนิกส์ บมจหลักทรัพย์กสิกรไทย 

หมายเหตุ  บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์จะใช้เวลาประมาณ 3 วันทำการ ในการพิจารณาอนุมัติ
    

   5.เอกสารที่ใช้ประกอบในการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์มีอะไรบ้าง ?

  • เอกสารที่ใช้ประกอบการขอเปิดบัญชี Cash Balance  (กรุณาเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ)

                    1. สำเนาประจำตัวประชาชน 3 ฉบับ
                    2. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
                    3. สำเนาหน้าสมุดบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย 1  ฉบับ
                    4. สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารที่ต้องการให้รับเงินปันผล 1 ฉบับ
                    5. เอกสารแสดงสถานะทางการเงิน ยอดเงินล่าสุดขั้นต่ำ 50,000 บาท       
                    6. กรณีมีการเปลี่ยนชื่อ หรือ นามสกุล รบกวนแนบใบแจ้งการเปลี่ยนแปลงชื่อ-นามสกุล 1 ฉบับ

  • เอกสารที่ใช้ประกอบการขอเปิดบัญชี Cash  (กรุณาเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ)

                     1. สำเนาประจำตัวประชาชน 3 ฉบับ
                     2. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
                     3. สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารที่ต้องการให้ตัดบัญชี ATS 1 ฉบับ (KBANK, BBL, SCB, BAY, KTB, SCIB, TCAPและ CIMBT)
                     4. สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารที่ต้องการให้รับเงินปันผล 1 ฉบับ
                     5. เอกสารแสดงสถานะทางการเงิน ย้อนหลัง 6 เดือน เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติวงเงิน  รวมกันไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท (โดยเป็นไปตามเกณฑ์ของบริษัท)
                     6. กรณีท่านมีการเปลี่ยนแปลง ชื่อ หรือ นามสกุล กรุณาเตรียม สำเนาใบแจ้งเปลี่ยนแปลงชื่อ หรือ นามสกุล 1 ฉบับ
                     7. หากท่านมีความประสงค์ใช้บริการ K-Stock 2 Fund เพิ่ม สำเนาบัตรประชาชนสำเนาหน้าสมุดบัญชี KBANK, สำเนาหน้าสมุดบัญชีกองทุน อย่างละ 1 ฉบับ

  • เอกสารที่ใช้ประกอบการขอเปิดบัญชี Credit Balance  (กรุณาเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ)
                   ต้องแนบเอกสารแสดงสถานะทางการเงิน ย้อนหลัง 6 เดือน เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติวงเงิน  รวมกันไม่ต่ำกว่า 3,000,000 บาท

หมายเหตุ สำหรับลูกค้าที่ต้องการเปิดบัญชี Credit Balance ต้องเปิดบัญชี Cash Account ด้วย


  6.ต้องแสดงเอกสารพิจารณาวงเงินเท่าไร จึงจะสามารถเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ได้ ?

                เอกสารพิจารณาวงเงิน (Statement) ที่ลูกค้าต้องแนบมากับชุดเปิดบัญชีนั้น จะขึ้นอยู่กับประเภทของบัญชีหลักทรัพย์ที่ลูกค้าเลือก

                  1. บัญชีประเภทแคชบาลานซ์ (Cash Balance) ลูกค้าต้องแสดงเอกสารประกอบการพิจารณาวงเงินมีมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท (กรณีซื้อขายผ่านทางอินเทอร์เน็ต) และ ไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท (กรณีซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่การตลาด)

                  2. บัญชีประเภทเงินสด (Cash Account) ลูกค้าต้องแสดงเอกสารประกอบการพิจารณาวงเงินมีมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท (ทั้งกรณีซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เน็ต และซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่การตลาด)

                  3. บัญชีประเภทเครดิตบาลานซ์ (Credit Balance) ลูกค้าต้องแสดงเอกสารประกอบการพิจารณาวงเงินที่มีมูลค่าเท่ากับวงเงินที่ลูกค้าต้องการ (ขั้นต่ำของวงเงินคือ 3,000,000 บาท)

หมายเหตุ เอกสารพิจารณาวงเงินที่ลูกค้าสามารถนำมาแสดงได้ มีดังต่อไปนี้

สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง 3-6 เดือน หรือ
บัญชีกองทุนตั๋วเงินฝาก หรือ
พอร์ตการลงทุนกับบริษัทหลักทรัพย์อื่น

  7.การชำระราคาค่าซื้อขายหลักทรัพย์และโอนเงินฝากหลักประกัน ทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง และอย่างไร ?

                ท่านสามารถชำระราคาค่าซื้อหลักทรัพย์และโอนเงินหลักประกัน ได้ดังนี้

                     - ผ่านบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ (ATS) ในกรณีชำระค่าซื้อหลักทรัพย์เท่านั้น
                     - โอนเข้าบัญชีธนาคารของบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย (ในกรณีที่ตัดเงินผ่านบัญชี ATS ไม่ผ่าน) ดังนี้


8.จะสามารถทราบข้อมูลบทวิเคราะห์ได้จากที่ไหน ?

               ลูกค้าสามารถรับทราบข้อมูลบทวิเคราะห์ได้ ทาง คือ
  • ผ่านการสรุปของเจ้าหน้าที่ผู้จัดการเงินทุนบุคคล (ผู้ดูแลบัญชีของท่าน)
  • ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.kasikornsecurities.com/ (ต้องทำการ Login เข้าใช้งานก่อน)
  • ผ่านทางอีเมลโดยสมัครรับบริการได้ผ่าน website หรือผู้จัดการเงินทุนบุคคล
  9.การส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตสามารถทำได้ช่วงเวลาใดบ้าง ?
   ในกรณีที่ซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตสามารถส่งคำสั่งได้ตลอด 24 ชั่วโมง 

 10.มีการจัดส่งเอกสารยืนยันการซื้อขายหลักทรัพย์หรือไม่ อย่างไร ?
    มี โดยบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยจะจัดส่ง
  • เอกสารยืนยันการซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าทางไปรษณีย์ภายใน 1 วันทำการนับจาก วันซื้อขาย
  • รายงานประจำเดือน ได้แก่ รายงานยอดหลักทรัพย์คงเหลือในบัญชี ให้ลูกค้าทุกสิ้นเดือนทางไปรษณีย์ (กรณีที่มีรายการเคลื่อนไหว) หรือ เฉพาะเดือนมิถุนายนและธันวาคม (กรณีที่ไม่มี รายการเคลื่อนไหว)


 11.ถ้าต้องการถอนหรือโอนหลักทรัพย์จะทำได้อย่างไร และมีค่าธรรมเนียมเท่าใด ?
         ในการถอน โอน หรือเปลี่ยนสถานะหลักทรัพย์ ลูกค้าจะต้องปฏิบัติดังนี้
  • กรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มใบคำขอเบิก / โอน / เปลี่ยนสถานะหลักทรัพย์
  • ลงนามในแบบฟอร์มให้เหมือนกับตัวอย่างที่ให้ไว้กับบริษัท
  • แนบสำเนาบัตรประชาชนที่รับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีถอนหลักทรัพย์เป็นใบหุ้น)
  • จากนั้นนำส่งเอกสารทั้งหมดให้กับเจ้าหน้าที่บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย เพื่อดำเนินการต่อไป

         ค่าธรรมเนียมต่อหุ้น 1 ตัว มีรายละเอียดดังนี้
  • กรณีการโอนหลักทรัพย์ (ภายในบริษัท) ไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • กรณีการถอนใบหลักทรัพย์ (ขอออกใบหลักทรัพย์ใหม่) 80 บาท
  • กรณีการโอนหลักทรัพย์ไปบริษัทสมาชิกอื่น (ผ่านระบบ SDC) 20 บาท
  • กรณีเปลี่ยนสถานะ “หลักทรัพย์ไทย” เป็น “หลักทรัพย์ต่างประเทศ” 20 บาท
  • กรณีเปลี่ยนสถานะ “หลักทรัพย์ต่างประเทศ” เป็น “หลักทรัพย์ไทย” 20 บาท
                                                                                                          ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ
                                                                                    บทความโดย : บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย

เพิ่มเติมข้อมูล
 ในการส่งงคำสั่งท่านสามารถทำการเทรดได้ผ่านทาง 3 ทางคือ
      1. การส่งคำสั่งที่ห้องค้าด้วยตนเอง
            ผู้ลงทุนส่งคำสั่งจะใช้ วิธีเขียนใบสั่งซื้อขายหุ้น (order ticket) ด้วยตนเอง ระบุจำนวนและราคา ที่ต้องการ รวมทั้งเวลาในการซื้อขายและลงลายมือชื่อกำกับคำสั่งซื้อขายนั้นส่งให้แก่เจ้าหน้าที่มาร์เก็ตติ้งในห้องค้าโดยตรง หรืออาจใช้โทรศัพท์ภายในห้องค้า โทรส่งคำสั่งซื้อขายไปยังมาร์เก็ตติ้งที่ใช้บริการอยู่เป็นประจำก็ได้วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่มีเวลามากและชื่นชอบการไปพบปะสังสรรค์เพื่อนนักลงทุนเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการลงทุนที่ห้องค้า

     2. การส่งคำส่งผ่านทางโทรศัพท์
            ผู้ลงทุนโทรสั่งมาร์เก็ตติ้ง โดยต้องโทรศัพท์ไปที่เบอร์ที่โบรกเกอร์กำหนดให้เท่านั้น เพื่อสามารถบันทึกเทปเป็นหลักฐานในการส่งคำสั่งซื้อขายได้ วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ชอบความสะดวกรวดเร็ว เพราะเพียงยกหูโทรศัพท์ก็สามารถสั่งซื้อสั่งขายได้ตรงใจ แถมไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง แต่ก็ต้องคอยตรวจสอบเอกสารยืนยันเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นด้วย เพื่อให้แน่ใจว่ามาร์เก็ตติ้งทำตามคำสั่งที่บอกไป

    3.การส่งคำสั่งทางอินเตอร์เน็ต 
            การซื้อขายหุ้นออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ตนั้น เป็นอีกหนึ่งช่องทางการซื้อขายหุ้นที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุน โดยเมื่อเปิดบัญชีซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ให้ระบุว่าต้องการสั่งซื้อขายด้วยตนเองผ่านอินเตอร์เน็ต ก็จะสามารถส่งคำสั่งซื้อขายจากเว็บไซด์ของโบรกเกอร์ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่อง PDA หรือโทรศัพท์มือถือก็ได้ โดยผู้ลงทุนจะต้องมีพื้นฐานความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์บ้าง และมีเวลาในการติดตามศึกษาข้อมูลหุ้นที่สนใจอย่างเพียงพออย่างไรก็ดี เมื่อลงทุนผ่านอินเตอร์เน็ต ผู้ลงทุนควรตรวจสอบรายละเอียดการซื้อขายทุกครั้งว่าสามารถสั่งซื้อขายได้แล้วหรือยัง เพราะการส่งคำสั่งอาจจะมีปัญหาและทำให้ยังไม่สามารถส่ง คำสั่งซื้อขายได้ และควรตรวจสอบด้วยว่าโบรกเกอร์มีการหักเงินฝากธนาคารถูกต้อง (ในกรณีที่ ผู้ลงทุนต้องจ่ายเงิน) และโบรกเกอร์ได้นำเงินเข้าบัญชีถูกต้อง (ในกรณีที่ผู้ลงทุนได้รับเงิน) และควรจัดเก็บหลักฐานการซื้อขายให้ดีด้วย

*ส่วนท่านใดจะเลือกใช้วิธีไหนก็แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละท่าน

ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ
บทความโดย : The Stock Exchange of Thailand


เวลาทำการซื้อขาย

ตลาดหลักทรัพย์กำหนดช่วงเวลาสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ประจำวันดังนี้


ระบบซื้อขาย

      ตลาดหลักทรัพย์เปิดให้มีการซื้อขายครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 ภายใต้วิธีการซื้อขายแบบประมูลราคาอย่างเปิดเผย (Open Auction) ด้วยวิธีเคาะกระดานในห้องค้าหลักทรัพย์ (Trading Floor) จนกระทั่งในวันที่ 31 พฤษภาคม 2534 ตลาดหลักทรัพย์ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบการซื้อขายด้วยคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรก เรียกว่าระบบ ASSET (Automated System for the Stock Exchange of Thailand)

      ในวันที่ 11 สิงหาคม 2551 ตลาดหลักทรัพย์ได้เปลี่ยนมาให้ระบบซื้อขายใหม่เรียกว่า ระบบ ARMS (Advance Resilience Matching System) ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับแนวโน้มความต้องการและรูปแบบการดำเนินธุรกรรมในตลาดโลก รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารความเสี่ยง หรือระบบสำรองกรณีระบบขัดข้องที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว


วิธีการซื้อขายหลักทรัพย์ 

1. Automatic Order Matching (AOM)

      เป็นวิธีการซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขายส่งการเสนอซื้อและเสนอขายด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเข้ามายังระบบ การซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ โดยที่ระบบคอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพย์จะทำการเรียงลำดับ และจับคู่คำสั่งซื้อขายให้โดยอัตโนมัติ

     1.1 การจัดเรียงลำดับคำสั่งซื้อขาย เมื่อสามารถส่งคำสั่งซื้อขายเข้ามา ระบบการซื้อขายจะเก็บคำสั่งซื้อขายไว้ตั้งแต่เวลาที่ส่งคำสั่งซื้อขาย จนถึงสิ้นวันทำการ และจัดเรียงคำสั่งซื้อขายตามลำดับของราคาและเวลาที่ดีที่สุด (Price then Time Priority) โดยมีหลักการคือ

              (1) คำสั่งซื้อที่มีราคาเสนอซื้อสูงที่สุดจะถูกจัดเรียงไว้ในลำดับที่หนึ่ง และถ้ามีราคาเสนอซื้อที่สูงกว่าถูกส่งเข้ามาใหม่ จะจัดเรียง ราคาเสนอซื้อที่สูงกว่าเป็นการเสนอซื้อในลำดับแรกก่อนและถ้ามีการเสนอซื้อในแต่ละราคามากกว่าหนึ่งรายการ ให้จัดเรียงตามเวลา โดยการเสนอซื้อที่ปรากฏในระบบการซื้อขายก่อนจะถูกจัดไว้เป็นการเสนอซื้อในลำดับก่อน

              (2) คำสั่งขายที่มีราคาเสนอขายต่ำที่สุดจะถูกจัดเรียงไว้ในลำดับที่หนึ่ง และถ้ามีราคาเสนอขายที่ต่ำกว่าถูกส่งเข้ามาใหม่จะจัดเรียงราคาเสนอขายที่ต่ำกว่า เป็นการเสนอขายในลำดับแรกก่อนละถ้ามีการเสนอขายในแต่ละราคามากกว่าหนึ่งรายการให้จัดเรียงตามเวลา โดยการเสนอขายที่ปรากฏในระบบการซื้อขาย ก่อนจะถูกจัดไว้เป็นการเสนอขายในลำดับก่อน

    1.2 การคำนวณหาราคาเปิด (Opening Price) และการคำนวณหาราคาปิด (Close Price) ตลาดหลักทรัพย์ได้กำหนดให้คำนวณราคาเปิดหรือปิดใช้วิธี Call Market ในเวลาเปิดหรือปิดทำการซื้อขาย ที่ได้จากวิธี การแบบสุ่มเลือกเวลา (Random Time) โดยตลาดหลักทรัพย์จะกำหนดช่วงเวลาให้บริษัทสมาชิก ส่งคำสั่งซื้อขายที่ระบุราคา แบบไม่มีเงื่อนไขยกเว้นคำสั่งซื้อขายแบบ ATO (คำสั่งที่ต้องการซื้อขายหลักทรัพย์ ที่ราคาเปิด) หรือ ATC (คำสั่งที่ต้องการซื้อ ขายหลักทรัพย์ที่ราคาปิด) เข้ามาในระบบการซื้อขาย ของตลาดหลักทรัพย์โดยยังไม่มีการจับคู่ แต่ระบบการซื้อขายจะนำคำสั่ง ซื้อขายทั้งหมดมาคำนวณเพื่อหา ราคาเปิดหรือราคาปิด จากนั้นเมื่อถึงช่วงเวลาที่กำหนดระบบจะมีการ Random เพื่อหาเวลาเปิด หรือปิดการซื้อขาย หลักการคำนวณหาราคาเปิด/ราคาปิด ตลาดหลักทรัพย์ได้นำวิธี Call Market มาใช้ในการคำนวณหา ราคาเปิด / ปิด ดังนี้ 

              (1) เป็นราคาที่ทำให้เกิดการซื้อขายมากที่สุดเมื่อแรกเปิดทำการซื้อขายประจำวัน
              (2) ในกรณีที่ราคาตาม (1) มีมากกว่าหนึ่งราคา ให้ใช้ราคาที่ใกล้เคียงราคาซื้อขายครั้งสุดท้ายในวันทำการก่อนหน้ามากที่สุด
              (3) ในกรณีที่ราคาตาม (2) มีมากกว่าหนึ่งราคา ให้ใช้ราคาที่สูงกว่า

     1.3 การจับคู่การซื้อขาย (Matching) เมื่อคำสั่งซื้อขายผ่านเข้ามาในระบบซื้อขายแล้ว ระบบซื้อขายจะตรวจสอบว่าคำสั่งนั้นสามารถจับคู่กับคำสั่ง ด้านตรงข้ามได้ทันทีหรือไม่ ถ้าคำสั่งนั้นสามารถจับคู่ได้ทันที ระบบก็จะทำการจับคู่ให้ แต่ถ้าคำสั่งนั้น ไม่สามารถจับคู่ได้ ระบบจะจัดเรียงคำสั่ง ซื้อขายนั้นตามหลักการ Price then Time Priority ตามที่กล่าวข้างต้น
2. Put-through (PT)
    เป็นการซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้ทำการต่อรองเพื่อตกลงซื้อขายกัน (Dealing) แล้วจึงบันทึกรายการ ซื้อขายนั้นเข้ามา ในระบบซื้อขาย (Put-through) โดยบริษัทสมาชิกสามารถประกาศ โฆษณา (Advertise) การเสนอซื้อหรือ เสนอขายของตน ผ่านระบบการซื้อขายได้
    การซื้อขายภายใต้ระบบ PT สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
              (1) การซื้อขายระหว่างสมาชิก (Two-firm Put-through) มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญดังนี้
  • หากมีการตกลงซื้อขายกันแล้ว ให้สมาชิกผู้ขายบันทึกรายการซื้อขายเข้ามาในระบบการซื้อขายก่อน จากนั้นให้สมาชิกผู้ซื้อทำการรับรองรายการซื้อขาย (Approve) โดยจะต้องบันทึกรายการซื้อขาย เข้ามาในระบบภายใน 15 นาที นับตั้งแต่มีการตกลงซื้อขายกัน หากบันทึกรายการซื้อขายดังกล่าวไม่ทัน ในช่วงเวลาซื้อขายนั้นๆ ให้บันทึกเข้ามาภายใน 15 นาทีแรกของช่วงเวลาซื้อขายถัดไป
  • หลังจากผู้ซื้อ Approve รายการแล้ว รายการซื้อขายดังกล่าวจะถูกบันทึกเข้ามายังระบบซื้อขายของ ตลาดหลักทรัพย

            (2) การซื้อขายโดยสมาชิกผู้ซื้อและผู้ขายเป็นรายเดียวกัน (One-firm Put-through) มีหลักเกณฑ์ที่ สำคัญดังนี้
  • หากมีการตกลงซื้อขายกัน ให้สมาชิกบันทึกรายการซื้อขายเข้ามายังตลาดหลักทรัพย์ภายใน 15 นาที นับตั้งแต่มีการตกลงซื้อขายกัน หาก Key รายการซื้อขายดังกล่าวไม่ทันในช่วงเวลา ซื้อขายนั้นๆ ให้ Key เข้ามาภายใน 15 นาทีแรกของช่วงเวลาซื้อขายถัดไป
  • หากมีการตกลงซื้อขายกัน ให้สมาชิกบันทึกรายการซื้อขายเข้ามายังตลาดหลักทรัพย์ภายใน 15 นาที นับตั้งแต่มีการตกลงซื้อขายกัน หาก Key รายการซื้อขายดังกล่าวไม่ทันในช่วงเวลา ซื้อขายนั้นๆ ให้ Key เข้ามาภายใน 15 นาทีแรกของช่วงเวลาซื้อขายถัดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มีข้อสงสัยสามารถแสดงความคิดเห็นเข้ามาได้ครับ เรายินดีตอบกลับให้...