- หน่วยการซื้อขาย
ในการเสนอซื้อเสนอขายหลักทรัพย์บนกระดานหลัก บริษัทสมาชิกจะต้องระบุจำนวนหลักทรัพย์ เป็นหน่วยการซื้อขาย (Board Lot) โดยทั่วไปแล้วตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้หนึ่งหน่วยการซื้อขายเท่ากับ 100 หลักทรัพย์ ตัวอย่างเช่น เสนอซื้อหุ้น ABC จำนวน 10 หน่วยการซื้อขาย นั่นคือเท่ากับ 10 หน่วย x100 หุ้น ซึ่งเท่ากับ 1,000 หุ้น
ในกรณีที่หลักทรัพย์มีราคาปิดตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไปเป็นระยะเวลา 6 เดือนติดต่อกัน ตลาดหลักทรัพย์จะเปลี่ยนแปลง ขนาดของหน่วยการซื้อขาย โดยกำหนดให้ 1 หน่วยการซื้อขายของหลักทรัพย์นั้นเท่ากับ 50 หลักทรัพย์ โดยตลาดหลักทรัพย์จะประกาศให้ทราบเป็นการล่วงหน้า ก่อนที่จะมีการปรับหน่วยการซื้อขาย
- ช่วงราคา
![]() |
http://www.set.or.th/ |
การกำหนดราคาเสนอซื้อขายสูงสุดและต่ำสุดของหลักทรัพย์
ราคาสูงสุด-ต่ำสุด
ตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้ราคาเสนอซื้อเสนอขายหลักทรัพย์ในแต่ละวันเป็นดังนี้
หลักทรัพย์ที่ซื้อขายบนกระดานหลัก กระดานหน่วยย่อย และกระดานรายใหญ่ สามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้สูงสุดได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของราคาปิดวันก่อนหน้า ยกเว้นหลักทรัพย์ที่คำนวณราคาสูงสุด-ต่ำสุดได้น้อยกว่า+1 ช่วงราคา ให้กำหนดราคาสูงสุด-ต่ำสุด เป็น +1 ช่วงราคาของราคาปิดวันก่อนหน้า
สำหรับการ ซื้อขายบนกระดานต่างประเทศ ราคาซื้อขาย สามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น หรือลดลงได้สูงสุดได้ไม่เกินร้อยละ 60 ของราคาปิดวันก่อนหน้าของหลักทรัพย์ดังกล่าวบนกระดานหลัก แต่อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดดังกล่าวได้รับการยกเว้นในกรณีต่อไปนี้
- เริ่มการซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์
- เป็นการซื้อขายวันแรกที่มีการขึ้นเครื่องหมาย XD, XR, XS หรือ XA
- หลักทรัพย์นั้นไม่มีการซื้อขายติดต่อกันเกินกว่า 15 วันทำการ
ประเภทคำสั่งซื้อขาย
นอกจากคำสั่งซื้อขายทั่วไปที่ระบุราคาที่แน่นอน (Limit Price Order) แล้ว ตลาดหลักทรัพย์ยังอนุญาตให้สามารถส่งคำสั่งซื้อขายแบบมีเงื่อนไขได้ ดังนี้
- MP (Market Price)
- ระบบซื้อขายจะถือว่าคำสั่ง MP เป็นการเสนอซื้อ ณ ราคาเสนอขายต่ำสุด หรือเป็นการเสนอขาย ณ ราคาเสนอซื้อสูงสุด ดังนั้นหากไม่มีคำสั่งซื้อหรือขาย ด้านตรงข้ามรอการจับคู่อยู่ คำสั่ง MP นั้นจะถูกยกเลิกหรือสั่งไม่ได้ แต่หากมีคำสั่งซื้อหรือขายด้านตรงข้ามรอการจับคู่อยู่ คำสั่ง MP จะสามารถจับคู่ซื้อขายได้ทันที ที่เข้ามาในระบบ
- หากจำนวนหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อขาย ณ ราคา MP ไม่สามารถจับคู่การซื้อขาย ได้หมดทั้งจำนวนระบบการซื้อขายจะจัดจำนวนหลักทรัพย์ที่เหลือเป็นการเสนอซื้อ ณ ราคาที่สูงกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้ายหรือ เป็นการเสนอขาย ณ ราคาที่ต่ำกว่า ราคาซื้อขายครั้งสุดท้ายหนึ่งช่วงราคา
- สามารถส่งคำสั่งซื้อขายที่ระบุราคา MP ได้เฉพาะบนกระดานหลักและกระดาน ต่างประเทศเท่านั้น
- ATO (At the Open) / ATC (At the Close)
- ATC เป็นคำสั่งซื้อขายที่ใช้เมื่อผู้ลงทุนต้องการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ทันทีที่ตลาด ปิดการซื้อขาย ณ ราคาปิด สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ตั้งแต่เวลา 16.30 น. ถึงเวลาปิด (Random เวลาในช่วง 16.35 - 16.40 น.)
- คำสั่ง ATO และ ATC เป็นคำสั่งที่มีเงื่อนไขเดียวกัน คือหากคำสั่งเสนอซื้อขาย สามารถจับคู่ได้เพียงบางส่วน ระบบการซื้อขายจะทำการยกเลิกจำนวนที่เหลือทั้งหมด โดยกำหนดในคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่เป็น First Priority คือจะได้รับการจับคู่ซื้อขายก่อนคำสั่งประเภทระบุราคา (Limit Price Order)
- ใช้ได้สำหรับการซื้อขายบนกระดานหลักและกระดานต่างประเทศเท่านั้น
*ตัวอย่าง: การซื้อขายหลักทรัพย์แบบ ATO/ATC
- IOC (Immediate or Cancel)
- ส่งคำสั่งได้ในช่วงตลาดเปิดทำการซื้อขายเท่านั้น
- ต้องระบุราคาซื้อขายที่แน่นอน
- ไม่สามารถใช้คำสั่งที่มีเงื่อนไขนี้ร่วมกับ ATO ATC MP และ Publish Volume
- ใช้ได้สำหรับการซื้อขายบนกระดานหลักและกระดานต่างประเทศเท่านั้น
- FOK (Fill or Kill)
- ส่งคำสั่งได้ในช่วงตลาดเปิดทำการซื้อขายเท่านั้น
- ต้องระบุราคาซื้อขายที่แน่นอน
- ไม่สามารถใช้คำสั่งที่มีเงื่อนไขนี้ร่วมกับ ATO ATC MP และ Publish Volume
- ใช้ได้สำหรับการซื้อขายบนกระดานหลักและกระดานต่างประเทศเท่านั้น
- คำสั่งซื้อขายแบบให้ระบบการซื้อขายส่งให้โดยอัตโนมัติ (Publish Volume)
เป็นคำสั่งซื้อขายแบบพิเศษที่ช่วยให้ผู้ซื้อหรือขายที่ต้องการซื้อขายจำนวนมากแต่ไม่ต้องการให้แสดง ปริมาณการซื้อขายทีเดียวทั้งหมด เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ ดังนั้นจึงต้องการ เสนอซื้อขายทีละส่วน โดยภายใต้คำสั่งนี้นักลงทุนสามารถทำการส่งคำสั่งเพียงครั้งเดียว จากนั้นระบบการซื้อขายจะทำการเสนอซื้อหรือขายเป็นหลายรายการโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ส่ง คำสั่งทำงานสะดวกขึ้น
การส่งคำสั่งแบบ Publish Volume มีหลักเกณฑ์ในการส่งคำสั่งดังนี้
- จำนวนหุ้นที่ส่งในแต่ละครั้งต้องไม่ต่ำกว่า 10 หน่วยการซื้อขาย
- ระบบการซื้อขายจะทำการเสนอให้เป็นครั้งๆ โดยอัตโนมัติตามที่ระบุ ซึ่งแต่ละครั้งต้องมี ปริมาณซื้อขายไม่ต่ำกว่า 10 หน่วยการซื้อขาย โดยระบบการซื้อขายจะส่งคำสั่งเข้าไป เมื่อการเสนอซื้อหรือขายก่อนหน้านี้ได้รับการจับคู่การซื้อขายแล้ว
- ส่งคำสั่งนี้ได้ในช่วงเวลาตลาดเปิดทำการ โดยต้องระบุราคาที่แน่นอนและต้องไม่มีเงื่อนไขอื่น หากจับคู่การซื้อขายได้ไม่หมดในช่วงเวลาซื้อขายแรก คำสั่งนั้นจะถูกยกเลิก หากต้องการ ส่งคำสั่งซื้อหรือขายต่อ ต้องส่งคำสั่งเข้ามาใหม่ในช่วงเวลาซื้อขายที่สอง
- เมื่อมีการขึ้นเครื่องหมาย 'H' (Halt) ในหลักทรัพย์ใด คำสั่งที่เป็น Publish Volume ของ หลักทรัพย์นั้นจะถูกยกเลิกทันที
- Basket Order
องค์ประกอบของ Basket Order มีลักษณะดังนี้
- เป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในรายชื่อ SET50 Index หรือ FTSE SET Large Cap Index
- จำนวนหลักทรัพย์ ต้องไม่น้อยกว่า 10 หลักทรัพย์ (Securities)
- มูลค่าการซื้อขายรวม ต้องไม่น้อยกว่า 15 ล้านบาท
- คำสั่งย่อยใน 1 Basket ต้องเป็นการเสนอซื้อหรือขายอย่างใดอย่างหนึ่ง
- คำสั่งย่อยใน Basket ต้องมาจากลูกค้ารายเดียวกัน
- ต้องเป็นคำสั่งระบุราคา (Limit Price) และอยู่ในช่วง +/- 3% ของราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (Last Execution Price) และสามารถระบุราคา ATO และ ATC ในช่วง Pre-Open และ Pre-Close ได้
- คำสั่งย่อยใน Basket ต้องเป็นการเสนอซื้อหรือขายอย่างใดอย่างหนึ่ง
ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ
บทความโดย : The Stock Exchange of Thailand
เพิ่มเติม:
*กระดานซื้อขาย: กระดานหลัก (Main Board) และกระดานต่างประเทศ (Foreign Board)
*วิธีการจับคู่ซื้อขาย: การซื้อขายแบบจับคู่โดยอัตโนมัติโดยระบบซื้อขาย (Automated Order Matching หรือ AOM)
*ช่วงเวลาซื้อขาย: สามารถส่ง Basket Order ได้ทุกช่วงเวลา
*เกณฑ์การซื้อขาย:การซื้อขายหลักทรัพย์แบบ Basket Order พ.ศ. 2549
การขึ้นเครื่องหมาย
ตลาดหลักทรัพย์ได้มีการขึ้นเครื่องหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายเพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบ ซึ่งเครื่องหมายดังกล่าวได้แก่
![]() |
http://www.set.or.th/ |
วิธีการคำนวณราคาเปิดและราคาปิดของหลักทรัพย์
เพื่อเป็นการลดโอกาสในการสร้างราคาปิดและทำให้ราคาปิดของหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์มีเสถียรภาพยิ่งขึ้น ตลาดหลักทรัพย์จึงเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณราคาปิดของหลักทรัพย์จากเดิมที่กำหนดให้ราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (Last Transaction) เป็นราคาปิด เป็นการใช้วิธีผสมผสานระหว่างการสุ่มเลือกเวลา (Random Time) และวิธี Call Market
ในการคำนวณราคาปิด ตลาดหลักทรัพย์จะยังคงเปิดให้ซื้อขายได้ตามปกติจนถึงเวลา 16.30 น. จากนั้นระบบจะหาเวลาปิดโดยการสุ่มเลือก (Random) เวลาในช่วง 16.35-16.40 น. และเปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถส่งคำสั่งซื้อขายเพิ่มเติมได้อีกเป็นเวลาอย่างน้อย 5 นาที คือตั้งแต่ 16.30 น. ถึงเวลาปิดที่ได้จากการสุ่มเลือก และจะยังไม่จับคู่การซื้อขาย จนกว่าจะถึงเวลาปิด จึงใช้วิธี Call Market (ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับวิธีการคำนวณหาราคาเปิดในช่วง Pre-open) คำนวณหาราคาปิด โดยนำคำสั่งซื้อขายทั้งหมดที่ค้างอยู่ในระบบจนกระทั่งถึงเวลาปิด มาคำนวณหาราคาปิดตามหลักการดังนี้
- เป็นราคาที่ทำเกิดการซื้อขายได้ปริมาณมากที่สุด
- ถ้ามีราคาที่ทำให้เกิดปริมาณซื้อขายมากที่สุดมากกว่า 1 ราคา ให้ใช้ราคาที่ใกล้เคียงกับราคาซื้อขายครั้งสุดท้ายก่อนหน้านั้นมากที่สุด
- ถ้ามีราคาที่ใกล้เคียงกับราคาซื้อขายครั้งสุดท้ายก่อนหน้านั้นมากกว่า 1 ราคา ให้ใช้ราคาที่สูงกว่าเป็นราคาปิด
อย่างไรก็ตาม หากระบบไม่สามารถคำนวณหาราคาปิดของหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้ ให้ถือว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้ายของหลักทรัพย์ในวันนั้นเป็นราคาปิด
นอกจากนี้ เพื่อให้ราคาเปิดของหลักทรัพย์มีเสถียรภาพมากขึ้น ตลาดหลักทรัพย์ได้นำหลักเกณฑ์การคำนวณราคาปิดดังกล่าวมาใช้ในการคำนวณหาราคาเปิดช่วง Pre-open เช่นกัน โดยสุ่มเลือกเวลาเปิดในช่วง Pre-open เช้า (9.55-10.00 น.) และช่วง Pre-open บ่าย (14.25-14.30 น.) ดังนั้นรูปแบบการซื้อขายในช่วงเวลาต่างๆ ปรากฏดังนี้
![]() |
http://www.set.or.th/ |
โดยคำสั่งซื้อขายที่เข้ามาในช่วงที่ใช้วิธี Call Market จะต้องเป็นคำสั่งซื้อขายที่ระบุราคา (Limit Price Order) นอกจากนี้ตลาดหลักทรัพย์ได้จัดให้มีประเภทคำสั่งซื้อขายซื้อที่ราคาปิด (ATC : At the Close) มาใช้ในช่วงที่ใช้วิธี Call Market ช่วงปิดตลาด เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ลงทุนสามารรถส่งคำสั่งซื้อซื้อขาย ณ ราคาปิดได้ โดยคำสั่งซื้อขาย ATC จะมีลักษณะเดียวกับคำสั่ง At the Open (ATO) ซึ่งหมายถึงต้องการซื้อขายหลักทรัพย์ ณ ราคาเปิดในช่วงเปิดตลาด
***ตัวอย่าง ถ้าราคาซื้อขายครั้งสุดท้ายก่อนใช้วิธี Call Market ช่วงปิดตลาดในวันนั้นเท่ากับ 151 บาท และ ณ เวลาปิดที่สุ่มเลือกได้ที่ 16:38 น. มีคำสั่งซื้อขายในระบบดังนี้
![]() |
http://www.set.or.th/ |
![]() |
http://www.set.or.th/ |
จากตัวอย่างดังกล่าวจะได้ราคาที่ทำให้เกิดการซื้อขายปริมาณมากที่สุด 2 ราคา คือที่ราคา 149 และ 150 บาท จากนั้นระบบจะเลือกราคาที่ใกล้เคียงกับราคาซื้อขายครั้งสุดท้ายก่อนหน้า (151 บาท) มากที่สุดเป็นราคาปิด ดังนั้นจะได้ราคาปิดที่ 150 บาท และให้มีวิธีจับซื้อขายตามราคาและเวลาที่ดีที่สุด (Price and Time Priority) โดยที่คำสั่งซื้อขาย ATC จะมีลำดับการจับคู่ซื้อขายอยู่ในลำดับแรก (First Priority) ดังนี้
![]() |
http://www.set.or.th/ |
วิธีการคำนวณราคาปิดกรณีที่หาราคาที่ทำให้เกิดปริมาณซื้อขายสูงสุดหลายราคา
- ถ้าราคาจับคู่ซื้อขายครั้งสุดท้าย (Last Execution) ก่อน Call ปิดตลาดของวันนั้น เท่ากับ 17.10 บาท
- ในกรณีที่มีคำสั่งเสนอซื้อเสนอขาย ณ เวลาปิดตลาด ดังนี้้
![]() |
http://www.set.or.th/ |
- ระบบซื้อขายจะคำนวณหาปริมาณหุ้นที่สามารถซื้อขายในแต่ละระดับราคาดังนี้
![]() |
http://www.set.or.th/ |
จากตัวอย่างข้างต้นจะได้ราคาที่ทำให้เกิดปริมาณการซื้อขายมากที่สุดคือ 8,000 หุ้น 3 ราคา คือที่ราคา 17 บาท, 17.10 บาท และ 17.20 บาท ซึ่งจากหลักเกณฑ์การหาราคาปิดกำหนดไว้ว่ากรณีที่หาราคาที่ทำให้เกิดปริมาณการซื้อขายมากที่สุดได้มากกว่า 1 ราคา ให้ใช้ราคาที่ใกล้เคียงกับราคาซื้อขายครั้งสุดท้ายมากที่สุดเป็นราคาปิด ซึ่งจากตัวอย่าง ราคาจับคู่ซื้อขายครั้งสุดท้ายก่อน Call ปิดตลาดของวันนั้น เท่ากับ 17.10 บาท ดังนั้นระบบซื้อขายจะเลือกราคา 17.10 บาท เป็นราคาปิด
- หลังจากนั้นระบบซื้อขายจะจับคู่คำสั่งซื้อขายตามราคาและเวลาที่ดีที่สุด (Price and Time Priority) โดยนำคำสั่งเสนอซื้อขายที่อยู่ในลำดับแรกทยอยจับคู่มาจนกระทั่งมีจำนวนหุ้นครบ 8,000 หุ้น ดังนี้
![]() |
http://www.set.or.th/ |
- ดังนั้นคำสั่งซื้อขาย ที่เหลืออยู่หลังจากปิดตลาดจะเป็นคำสั่งซื้อขายในลำดับถัดมาที่ไม่ได้รับการจับคู่ ซึ่งอาจมีราคาที่สูงกว่าหรือต่ำกว่าราคาปิดได้ ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างที่มีราคาเสนอซื้อ (17.20 บาท) สูงกว่าราคาปิด (17.10 บาท) ดังนี้
![]() |
http://www.set.or.th/ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
มีข้อสงสัยสามารถแสดงความคิดเห็นเข้ามาได้ครับ เรายินดีตอบกลับให้...