บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เริ่มต้นเล่นหุ้นยังไง ตอนที่ 2

ทางเลือกการลงทุน?
  • กองทุนรวม (Mutual Fund)
            กองทุนรวม (Mutual Fund) คือ โครงการลงทุนที่ระดมเงินทุนจากนักลงทุนหลายๆ รายมารวมกันให้เป็นเงินลงทุนก้อนใหญ่ แล้วนำไปจดทะเบียนให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล จากนั้นก็จะนำเงินที่ระดมได้ไปลงทุนในหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินประเภทต่างๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ ตามนโยบายการลงทุนที่ได้ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายแก่นักลงทุนนั้นทั้งนี้ นักลงทุนแต่ละรายจะได้รับ หน่วยลงทุน (Unit Trust) เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันฐานะความเป็นเจ้าของในเงินที่ตนได้ลงทุนไป โดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) เป็นผู้จัดตั้งและทำหน้าที่บริหารกองทุนรวมให้ได้ผลตอบแทน แล้วนำมาเฉลี่ยคืนให้กับนักลงทุนแต่ละรายตามสัดส่วนที่ลงทุนไว้แต่แรกในกองทุนรวมนั้น
  • กองทุน ETF
            กองทุน ETF หรือ “Exchange Traded Fund” คือ กองทุนเปิดที่ลงทุนในหุ้นทุน และจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ถ้ามาดูตามคำศัพท์ภาษาอังกฤษแต่ละคำที่ประกอบขึ้นได้ดังนี้
  1.  Exchange: หมายความว่า มีการนำหน่วยลงทุนไปจดทะเบียนในตลาดรอง (secondary market)หรือตลาดหลักทรัพย์ฯ (the stock exchange)
  2. Traded: หมายความว่า สามารถทำการซื้อขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หรือโบรกเกอร์ ได้เสมือนกับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตัวหนึ่ง ดังนั้น สภาพคล่อง (liquidity) ของกองทุน ETF จึงไม่ต่างจากหลักทรัพย์จดทะเบียนทั่วๆ ไปที่สามารถซื้อขายกันได้ตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ นักลงทุนยังสามารถทราบราคาซื้อขายได้ในทันทีแบบ Real Time อีกด้วย
  3. Fund: หมายความว่า กองทุน ETF เป็นกองทุนรวม (mutual fund) ประเภทหนึ่งโดย ETF เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่เน้นการสร้างผลตอบแทนให้เท่ากับดัชนีอ้างอิง อาทิ ดัชนีราคาหุ้น ดัชนีราคาหุ้น SET50 ดัชนีราคาตราสารหนี้ เป็นต้น
  4.   
 
  • ตราสารหนี้ หรือ ตราสารหนี้ (Debt Instrument หรือ Fixed Income Securities)        หมายถึง ตราสารทางการเงินที่ผู้ออกตราสารซึ่งเรียกว่า ผู้กู้หรือลูกหนี้ มีข้อผูกพันทางกฎหมายว่าจะจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเป็นงวดๆ และเงินต้น หรือผลประโยชน์อื่นๆ ตามข้อกำหนดในตราสารให้แก่ผู้ซื้อซึ่งเรียกว่า ผู้ให้กู้หรือเจ้าหนี้ เมื่อครบกำหนดที่ตกลงกันไว้ โดยระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนของตราสารหนี้นั้นจะมีตั้งแต่ระยะสั้น (ไม่เกินหนึ่งปี) ระยะปานกลาง (หนึ่งถึงห้าปี) ไปจนถึงระยะยาว (เกินห้าปีขึ้นไป) กรณีตราสารหนี้ในตลาดทุนโดยทั่วไปมักจะหมายถึงตราสารที่มีอายุไถ่ถอนมากกว่าหนึ่งปีขึ้นไป โดยผู้ซื้อจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย ส่วนลดรับ หรือผลประโยชน์อื่นตามที่ได้มีการกำหนดไว้

http://www.tsi-thailand.org
  • ตราสารอนุพันธ์  (Derivatives) คือ
            ตราสารทางการเงินที่ก่อกำเนิดจาก อ้างอิงจาก หรือผันแปรตาม สินทรัพย์อ้างอิง โดยทั่วไปตราสารอนุพันธ์จะมีมูลค่าขึ้นอยู่กับสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) หรือตัวแปรอ้างอิงอื่นๆ (Underlying Variable)สินทรัพย์ที่อ้างอิง อาจเป็นตราสารทางการเงิน เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ พันธบัตรตั๋วเงิน หุ้นสามัญ ฯลฯ หรืออาจเป็นสินค้าหรือสินทรัพย์อื่นๆ เช่น น้ำมัน ข้าว บ้านรถยนต์ ฯลฯ ตามแต่ที่ตราสารอนุพันธ์นั้นได้กำหนดไว้ว่าเป็นการอ้างอิงถึงสินทรัพย์ใดตัวอย่างของอนุพันธ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนั้น เช่น สัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดิน ซึ่งปกติการซื้อขายบ้านและที่ดินเป็นการทำสัญญาจะซื้อจะขายกัน โดยผู้ซื้อทำการวางเงินมัดจำจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้ขาย
           *เช่น บ้านมีราคา 3,000,000 บาท ผู้ซื้อได้ตกลงที่จะวางเงินมัดจำจำนวน 500,000 บาทในวันทำสัญญา และจะมีการส่งมอบบ้านกันในอนาคต เช่น อีก 6 เดือนข้างหน้า ในระหว่างสัญญานั้นผู้ซื้อก็จะดำเนินการขอกู้เงินจากธนาคาร เพื่อนำมาซื้อบ้านและที่ดินดังกล่าว หากธนาคารอนุมัติเงินกู้ ผู้ซื้อก็จะนำเงินมาชำระค่าบ้านตามสัญญา หรือหากผู้ซื้อไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้ ผู้ซื้อก็จะไม่สามารถทำตามสัญญาได้ ผู้ขายก็จะยึดเงินมัดจำไป หรือหากผู้ซื้อสามารถขายสัญญาดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นได้ ผู้ซื้อก็จะได้รับเงินค่ามัดจำคืน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคาที่ผู้ซื้อสามารถที่จะขายสัญญาจะซื้อจะขายได้ หากราคาบ้านมีราคาสูงขึ้นในระหว่างเวลา 6 เดือน สัญญาดังกล่าวอาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และถ้าราคาบ้านมีราคาลดลงในระหว่าง 6 เดือน สัญญาดังกล่าวอาจมีมูลค่าลดลง

http://www.tsi-thailand.org
  • ตราสารทุน (Equity Instruments)
            เป็นตราสารที่กิจการออกให้แก่ผู้ถือ (Holder) เพื่อระดมเงินทุนไปใช้ในกิจการ โดยผู้ถือตราสารทุนจะมีฐานะเป็น เจ้าของกิจการ” ซึ่งจะมีส่วนได้เสียหรือมีสิทธิในทรัพย์สินและรายได้ของกิจการ รวมทั้งมีโอกาสได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผล (Dividend) อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีข้อผูกพันว่ากิจการที่ออกตราสารทุนจะต้องจ่ายเงินปันผลเสมอไป ทั้งนี้ การตัดสินใจจ่ายเงินปันผลจะขึ้นอยู่กับผลกำไรและข้อตกลงของธุรกิจนั้นๆ
 
โดยทั่วไปตราสารทุนแบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนี้
            1.หุ้นสามัญ (Common Stock)
 เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน ซึ่งออกโดยบริษัทมหาชนจำกัดที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน โดยผู้ถือหุ้นสามัญจะมีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือครองอยู่ กล่าวคือ ร่วมเป็นผู้ตัดสินใจในปัญหาสำคัญในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เช่น การเพิ่มทุน การจ่ายเงินปันผล การควบรวมกิจการ ฯลฯ นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นสามัญยังมีสิทธิได้รับเงินปันผลเมื่อบริษัทมีผลกำไร และมีโอกาสได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคาเมื่อราคาหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นตามศักยภาพของบริษัท รวมถึงมีโอกาสได้รับสิทธิในการจองซื้อหุ้นออกใหม่เมื่อบริษัทเพิ่มทุนหรือจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ ให้แก่ผู้ถือหุ้น
          
  • 2.หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)
  • เป็นตราสารที่ผู้ถือมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการเช่นเดียวกับหุ้นสามัญ แม้จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้น แต่เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ ซึ่งอาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ ขณะเดียวกัน หากกิจการนั้นต้องเลิกกิจการและมีการชำระบัญชีโดยการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิก็จะได้รับเงินคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ
  •  
  •              3.หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture)
    มีลักษณะคล้ายคลึงกับหุ้นกู้แตกต่างกันตรงที่หุ้นกู้แปลงสภาพมีสิทธิที่จะแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญในช่วงเวลา อัตรา และราคาที่กำหนดในหนังสือชี้ชวน ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจดี หุ้นประเภทนี้ได้รับความนิยมมาก เพราะผู้ซื้อคาดหวังผลตอบแทนที่จะได้รับจากราคาหุ้นสามัญ เมื่อแปลงสภาพแล้วจึงจะทำกำไรได้มากกว่าผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยของหุ้นกู้ธรรมดา
          
             นอกจากหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิแล้ว ตราสารทุนยังรวมไปถึงตราสารที่มีสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญแฝงอยู่ด้วย ได้แก่

    • ใบสำคัญแสดงสิทธิ หรือวอแรนท์ (Warrant)
              เป็นตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหลักทรัพย์ที่ใบสำคัญแสดงสิทธินั้นอ้างอิงอยู่ (Underlying Asset) เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ หรือตราสารอนุพันธ์ ตามราคาใช้สิทธิ (Exercise Price) จำนวนที่ให้ใช้สิทธิ (นิยมใช้เป็นอัตราส่วน) และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งหากพ้นกำหนดระยะเวลาแล้วก็ไม่สามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้
     
    • บสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrant : DW
              เป็นตราสารที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับใบสำคัญแสดงสิทธิทั่วไป (Warrant) ซึ่งบริษัทผู้ออก (Issuer) ให้สิทธิแก่ผู้ถือ DW ในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์อ้างอิง (Underlying Securities) ซึ่งอาจเป็นหุ้น (Stock) หรือดัชนีหลักทรัพย์ (Index) ในราคาใช้สิทธิ อัตราการใช้สิทธิ และระยะเวลาใช้สิทธิที่กำหนดไว้ โดยบริษัทผู้ออกเป็นผู้กำหนดว่าจะเลือกทำการส่งมอบเป็นหลักทรัพย์หรือเงินสดก็ได้ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดให้บริษัทผู้ออกสามารถออกได้เฉพาะใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ให้สิทธิซื้อหลักทรัพย์อ้างอิงเท่านั้น ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์จัดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยงจากการลงทุน ทั้งในด้านผู้ออกและผู้ซื้อหลักทรัพย์ โดยเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันที่มีการลงทุนในหุ้นสามัญเป็นจำนวนมากอย่างกองทุนรวม หรือบริษัทประกันภัย ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ได้
    • ใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (TransferableSubscription Rights : TSR)
              เป็นตราสารที่บริษัทจดทะเบียนออกให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกรายตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ถือครองอยู่เดิม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นใช้เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท โดยผู้ถือหุ้นเดิมที่ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน สามารถขายหรือโอนสิทธิให้แก่ผู้อื่นได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนอื่นให้ได้มีโอกาสและทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเสริมสภาพคล่องให้แก่หุ้นของบริษัท และช่วยให้บริษัทสามารถระดมทุนได้มากขึ้น หรือครบถ้วนตามเป้าหมายที่ต้องการด้วย นอกจากนี้ ยังแก้ปัญหาให้แก่ผู้ลงทุนต่างประเทศที่มีข้อจำกัดในการลงทุนเพิ่มด้วยวิธีจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่บริษัทจดทะเบียนจัดสรรให้ โดยสามารถนำ TSR มาขายในตลาดหลักทรัพย์ฯได้
    • ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย หรือเอ็นวีดีอาร์ (Non - Voting Depositary Receipt : NVDR)
             เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด มีสถานะเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนโดยอัตโนมัติ (Automatic List) และมีหลักทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) เป็นหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งผู้ลงทุนสามารถซื้อขายเอ็นวีดีอาร์ได้ในลักษณะเดียวกับการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนทั่วไป
    • ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (Depository Receipt : DR)
              เป็นตราสารที่ออกและเสนอขายโดยบริษัท สยามดีอาร์ จำกัด เป็นหลักทรัพย์ที่ให้สิทธิอ้างอิง อาจเป็นได้ทั้งหุ้นสามัญ หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ ผู้ลงทุนที่ถือ DR จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประโยชน์ทางการเงิน (Financial Right) หรือสิทธิในการออกเสียงลงคะแนน (Voting Right) ในบริษัทจดทะเบียน ทั้งนี้ ในการออกเสียงลงคะแนน ผู้ถือใบแสดงสิทธิจะต้องมี สัญชาติไทยและออกเสียงลงคะแนน โดยผ่านบริษัท สยามดีอาร์ จำกัด เท่านั้น
     
    **หลักทรัพย์ที่สามารถซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ SET และ mai (ณ วันที่ 1 พ.ย. 2550)
     
    http://www.tsi-thailand.org
     ***สำหรับเนื้อหาที่เกี่ยวกับตราสารทุนนี้ จะขอเน้นไปที่ “หุ้นสามัญ” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “หุ้น” เป็นหลัก

    ภาษีที่เกี่ยวข้อง
          การลงทุนในตราสารทุนประเภท “หุ้นสามัญ” และ “หุ้นบุริมสิทธิ” ผู้ลงทุนไทยที่เป็นบุคคลธรรมดา จะมีประเภทเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีที่ต้องพิจารณา คือ เงินปันผล (Dividend) และเงินกำไรจากการขายหรือโอนหุ้น (Capital Gain) ซึ่งสามารถสรุปภาระภาษีของผู้ลงทุนได้ตามตารางนี้
     
     
    http://www.tsi-thailand.org
     
    เครดิตภาษีเงินปันผล

         ผู้ลงทุนจำเป็นจะต้องรู้และเข้าใจเรื่องภาษี เพราะการจ่ายภาษีอากรให้ถูกต้องและครบถ้วนตามกฎหมายกำหนดเป็นสิ่งที่ผู้ลงทุนจะต้องถือปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ความเข้าใจเรื่องภาษียังอาจช่วยประหยัดรายจ่ายภาษีได้ด้วย

          สำหรับ “เงินปันผล” หรือ “เงินส่วนแบ่งกำไร” นั้น มีที่มาจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แต่กำไรสุทธินี้ได้เสียภาษีไปแล้วครั้งหนึ่งในรูปของภาษีเงินได้นิติบุคคล เมื่อนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรให้กับผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนก็ต้องนำเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก ซึ่งเข้าข่ายเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อนจากกำไรก้อนเดียวกัน

          ทางกรมสรรพากรจึงหาแนวทางเพื่อที่จะบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้ที่ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไร ซึ่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 47 ทวิ กำหนดไว้ว่าให้คืนเงินภาษีให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเงินภาษีที่คืนให้นี้เรียกว่า “เครดิตภาษีเงินปันผล”

          ทั้งนี้ กฎหมายได้ให้ทางเลือกว่า... จะเลือกถูกหัก ณ ที่จ่าย 10% แล้วไม่ต้องนำเงินปันผลมารวมคำนวณเป็นเงินได้ตอนสิ้นปี หรือจะนำเงินปันผลมารวมคำนวณเป็นเงินได้และเสียภาษีตามอัตราก้าวหน้าตอนสิ้นปีก็ได้แต่อย่างไรก็ตาม หากเลือกที่จะนำมารวมคำนวณแล้ว ก็ต้องนำเงินปันผลทุกก้อนที่ได้รับมาคำนวณ จะเลือกเฉพาะเงินปันผลของบางบริษัทมารวมไม่ได้ โดยสูตรการคำนวณเครดิตภาษีเงินปันผลมีดังนี้

    http://www.tsi-thailand.org

          แต่เนื่องจากบริษัทแต่ละบริษัทเสียภาษีนิติบุคคลในอัตราที่ไม่เท่ากัน ดังนั้น ปัจจัยที่ผู้ลงทุนจะใช้พิจารณาว่าเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับนั้น สามารถนำมาเครดิตภาษีได้หรือไม่ก็คือ “บริษัทที่ลงทุนเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่”

          ถ้าบริษัทนั้น “เสียภาษี” ผู้ลงทุนก็สามารถใช้เครดิตภาษีเงินปันผลได้ แต่จะนำมาเครดิตได้ในอัตราเท่าใด ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทที่ลงทุนเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละเท่าใด หรือถ้าบริษัทเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหลายอัตรา ก็จะแยกคำนวณตามเงินปันผลในแต่ละอัตรา ซึ่งจะระบุชัดเจนอยู่ในหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย

          แต่ถ้าบริษัทนั้น “ไม่เสียภาษี” ผู้ลงทุนจะไม่สามารถใช้เครดิตภาษีเงินปันผลได้ ซึ่งผู้ลงทุนควรจะพิจารณาต่อว่าบริษัทไม่เสียภาษีเนื่องจากอะไร เช่น เป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และบริษัทยังอยู่ในช่วงเวลายกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น

    http://www.tsi-thailand.org

    พื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ลองไปดูตัวอย่างการคำนวณภาษีและการขอเครดิตภาษีเงินปันผล ซึ่งการคำนวณดังกล่าวจะเป็นการคำนวณในกรณีที่ผู้ลงทุนมีรายได้ 2 ทาง คือ “เงินเดือน” และ “เงินปันผลจากบริษัทที่เสียภาษีนิติบุคคลในอัตรา 30%” โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ...
    • กรณีที่ 1 : ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% แล้วไม่ต้องนำเงินปันผลมารวมคำนวณภาษีตอนสิ้นปี
    • กรณีที่ 2 : นำเงินปันผลมารวมคำนวณภาษี และขอเครดิตภาษีตอนสิ้นปี
    http://www.tsi-thailand.org
    จากตัวอย่างจะพบว่า...
    • กรณีไม่รวมเงินปันผล ผู้ลงทุนต้องเสียภาษี 37,000 บาท ซึ่งเมื่อหักลบกับภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไปแล้วจำนวน 37,000 บาท ทำให้ตอนสิ้นปีไม่ต้องชำระภาษีเพิ่ม ขณะเดียวกันก็ไม่ได้เงินคืนจากกรมสรรพากร แต่หากมานึกดูให้ดีๆ จะพบว่า... ก่อนที่ผู้ลงทุนจะมาคำนวณภาษีตอนสิ้นปีนั้น ผู้ลงทุนได้เลือกให้บริษัทหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินปันผลไปก่อนแล้ว 7,000 บาท (ซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในตารางข้างต้น) ดังนั้น จริงๆ แล้ว ผู้ลงทุนจะเสียภาษีทั้งสิ้น 44,000 บาท (37,000 + 7,000)
    • กรณีรวมเงินปันผล ผู้ลงทุนต้องเสียภาษี 57,000 บาท ซึ่งดูเหมือนจะมากกว่ากรณีไม่รวมเงินปันผลค่อนข้างมาก แต่เมื่อหักลบกับภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไปแล้วจำนวน 44,000 บาท (37,000 + 7,000) และเครดิตภาษีอีก 30,000 บาท ทำให้ผู้ลงทุนไม่ต้องชำระภาษีเพิ่มตอนสิ้นปี แถมยังได้เงินคืนจากกรมสรรพากรตั้ง 17,000 บาท นั่นหมายความว่าจริงๆ แล้ว ผู้ลงทุนจะเสียภาษีทั้งสิ้นแค่ 40,000 บาท (57,000 - 17,000) น้อยกว่ากรณีไม่รวมเงินปันผลถึง 4,000 บาทเลยทีเดียว
              เทคนิคคร่าวๆ ว่า… จะเลือกใช้เครดิตภาษีเงินปันผลหรือไม่ ให้พิจารณาจากเงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษี หากใครมีเงินได้สุทธิอยู่ในขั้นที่ได้รับยกเว้นภาษี หรือเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า 30% ควรเลือกใช้เครดิตภาษีเงินปันผล เนื่องจากมีโอกาสได้รับเงินภาษีคืน

              แต่หากใครมีเงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษีในอัตรา 37% ก็ไม่ควรใช้สิทธิขอเครดิตภาษี เพราะการนำเงินปันผลมาทำการเครดิตภาษี ไม่ว่าเงินปันผลก้อนนั้นจะมากหรือน้อยแค่ไหน อาจไม่ได้ประโยชน์อะไร กล่าวคือ จะเสียภาษีเท่าเดิม เท่ากับกรณีที่ไม่ได้นำเงินปันผลมารวมคำนวณ แต่อย่างไรก็ตาม เทคนิคนี้ก็ไม่แน่เสมอไป ควรจะลองคำนวณดูก่อนด้วย
              ฝากทิ้งท้ายไว้อีกนิด สำหรับหลายๆ ท่านที่เคยมองข้ามการขอเครดิตภาษีเงินปันผลมานาน นับจากนี้อัตรภาษีที่จ่ายของแต่ละบริษัทน่าจะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน เนื่องจากผลประโยชน์เพิ่มเติมจากการขอเครดิตภาษีเงินปันผลดังกล่าว อยู่ที่ว่า... ท่านพร้อมที่จะให้ความสนใจกับผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับนี้ หรือยังคงละเลยผลประโยชน์ส่วนนี้ต่อไปอีก


    ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ
    บทความโดย : The Stock Exchange of Thailand

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น

    มีข้อสงสัยสามารถแสดงความคิดเห็นเข้ามาได้ครับ เรายินดีตอบกลับให้...