บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เริ่มต้นเล่นหุ้นยังไง ตอนที่ 8

วิเคราะห์แบบพื้นฐาน การประเมินมูลค่าหุ้น


        การประเมินมูลค่าหุ้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักลงทุนใช้เป็นเกณฑ์การตัดสินใจว่าจะซื้อหรือขายหุ้น โดยเกณฑ์การตัดสินใจของนักลงทุนเกิดจากการเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาด ณ ปัจจุบัน กับมูลค่าที่แท้จริงที่ได้จากการประเมิน โดย “นักลงทุนจะตัดสินใจซื้อหรือลงทุนในหุ้นใดๆ เมื่อราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ในทางตรงกันข้ามจะตัดสินใจขายเมื่อราคาตลาดสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง”

        ดังนั้น นักลงทุนจึงควรรู้แนวคิดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการประเมินมูลค่าหุ้น เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบกับ
ราคาตลาด และทำการตัดสินใจว่าจะซื้อหรือขายหุ้นดี ซึ่งแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการประเมินมูลค่าหุ้นอย่างง่ายที่นักลงทุนควร
ทำความเข้าใจ แบ่งออกเป็น 2 แนวคิดหลักๆ คือ

              1. การประเมินมูลค่าหุ้นโดยการคิดลดเงินปันผล (Dividend Discounted Model)
              2. การประเมินมูลค่าหุ้นโดยวิธีสัมพัทธ์ (Relative Method)


http://www.tsi-thailand.org

การประเมินมูลค่าหุ้นโดยการคิดลดเงินปันผล

       วิธีคิดการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นสามัญ ภายใต้แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากความเชื่อที่ว่า นักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นสามัญวันนี้ย่อมคาดหวังผลประโยชน์หรือผลตอบแทนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตจากการลงทุนในหุ้นสามัญ ดังนั้น ราคาหุ้นที่นักลงทุนยอมจ่ายในวันนี้จึงเป็นราคาสำหรับสิ่งที่ตนคาดว่าจะได้รับในอนาคต ซึ่งผลตอบแทนภายใต้แนวความคิดนี้ที่นักลงทุนคาดว่าจะได้รับก็คือ “เงินปันผล” แต่กระแสเงินสดดังกล่าวเป็นกระแสเงินสดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมูลค่าของเงินในอนาคตย่อมไม่เท่ากับมูลค่าของเงินในปัจจุบัน ดังนั้นนักลงทุนจึงต้องเทียบมูลค่าของเงินดังกล่าวให้กลับมาเป็นปัจจุบัน โดยใช้แนวคิด“อัตราคิดลด”

       อัตราคิดลด (Discount Rate) เป็นตัวเลขที่ใช้เพื่อการแปลงค่าเงินในอนาคตให้เป็นมูลค่า ณ เวลาปัจจุบัน โดยปกติตัวเลขที่ใช้คิดลดสำหรับเงินปันผล ได้แก่ อัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการจากการลงทุนในหุ้นนั้น

       โดยมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นสามัญ (P0) สามารถคำนวณได้จากสูตรดังต่อไปนี้

http://www.tsi-thailand.org

http://www.tsi-thailand.org

    ภายใต้แนวความคิดนี้มีสมมติฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ บริษัทที่นักลงทุนกำลังจะลงทุนต้องเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจต่อไป ไม่มีวัน
ครบกำหนดอายุ (Going Concern
) ดังนั้น เงินปันผลที่นักลงทุนคาดว่าจะได้รับก็จะได้รับต่อเนื่องไปตราบเท่าที่กิจการนั้นยังคงดำเนินอยู่

        จากสมการดังกล่าวเมื่อเราคำนวณหาค่า P0 ได้แล้ว ค่าที่ได้จะเป็นมูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) ของหุ้นสามัญ ซึ่งนักลงทุนจะนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับราคาตลาด ณ ปัจจุบัน แล้วตัดสินใจว่าจะซื้อหรือขายตามเกณฑ์ที่ได้กล่าวไปในตอนต้น

        อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัตินักวิเคราะห์จะเป็นผู้คาดการณ์เงินปันผลในอนาคตที่จะเกิดขึ้นภายใต้สมมติฐานของแต่ละนักวิเคราะห์ 
ซึ่งนักลงทุนควรทำความเข้าใจสมมติฐานดังกล่าวจากบทวิเคราะห์ที่มีการเผยแพร่จากโบรกเกอร์นั้นๆ ดังนั้น ราคาที่ประเมินได้ของแต่ละโบรกเกอร์จึงมีค่าไม่เท่ากัน นักลงทุนสามารถเปรียบเทียบค่าได้จาก Analyst Consensus (SAA Concensus)

http://www.tsi-thailand.org

การประเมินมูลค่าหุ้นโดยวิธีสัมพัทธ์ 

         วิธีการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นสามัญภายใต้แนวความคิดนี้ เกิดจากความเชื่อที่ว่านักลงทุนควรจ่ายเงินเพื่อซื้อหุ้นสามัญเป็น
กี่เท่าของตัวแปรทางบัญชีต่างๆ เช่น กำไรต่อหุ้น มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น ยอดขายต่อหุ้น หรือกระแสเงินสดต่อหุ้น เป็นต้น  
         ในที่นี้จะขออธิบายเฉพาะตัวแปรกำไรต่อหุ้นเท่านั้น ซึ่งเราเรียกว่า “อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น”

อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E Ratio หรือ Price to Earnings Ratio)
          อัตราส่วนนี้คำนวณจากราคาปิดของหุ้น หารด้วยกำไรสุทธิต่อหุ้น โดยหลักการคำนวณอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่านักลงทุนจะยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อหุ้นสามัญเป็นกี่เท่าของกำไรต่อหุ้น

http://www.tsi-thailand.org

***ตัวอย่างเช่น บริษัท GTO รายงานกำไรสุทธิปีล่าสุดที่ 1.5 ล้านบาท โดยราคาตลาดของหุ้น GTO ณ ปัจจุบัน เท่ากับ 20 บาท ดังนั้น ค่า P/E Ratio ของหุ้น GTO จะเท่ากับ 13.33 เท่า (20 ÷1.5)


การประเมินมูลค่าหุ้นโดยวิธีสัมพัทธ์

http://www.tsi-thailand.org

นักลงทุนจะใช้ P/E Ratio ในการตัดสินใจลงทุนได้อย่างไร?

      การใช้ P/E Ratio เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน นักลงทุนต้องนำค่า P/E Ratio ที่คำนวณได้ไปเปรียบเทียบกับค่า
P/E Ratio ที่เป็นมาตรฐานอ้างอิง (Benchmark P/E) เช่น P/E ของบริษัทที่เป็นผู้นำในตลาด, P/E ของบริษัทคู่แข่ง หรือ P/E ของอุตสาหกรรม โดยมีเกณฑ์ดังต่อไปนี้

             ถ้า P/E Ratio ของบริษัทที่เรากำลังประเมิน น้อยกว่า Benchmark P/Eแปลว่ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นสามัญต่ำกว่าราคาตลาด ณ ปัจจุบัน ดังนั้น นักลงทุนควร “ซื้อ”
             ถ้า P/E Ratio ของบริษัทที่เรากำลังประเมิน มากกว่า Benchmark P/Eแปลว่ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นสามัญมากกว่าราคาตลาด ณ ปัจจุบัน ดังนั้น นักลงทุนควร “ขาย”

            จากตัวอย่างในสไลด์ก่อนหน้าซึ่งคำนวณค่า P/ERatio ได้ 13.33 เท่า สมมติ Benchmark P/E เท่ากับ 10 เท่า นักลงทุนควร
ซื้อหรือขายหุ้น GTO? คำตอบคือนักลงทุนไม่ควรซื้อหุ้น GTO เพราะราคาตลาดในปัจจุบันแพงเกินมูลค่าที่แท้จริง หรือ ในกรณีที่นักลงทุนมีหุ้น GTO อยู่แล้วก็ควรจะขายออกไป

http://www.tsi-thailand.org

เจาะลึกหุ้นด้วยปัจจัยทางเทคนิค

             นอกจากการวิเคราะห์ราคาหุ้นโดยใช้ปัจจัยพื้นฐานแล้ว อีกแนวคิดหนึ่งที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันที่นักลงทุนสามารถใช้เพื่อเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจลงทุนในหุ้นสามัญได้ คือ การวิเคราะห์โดยใช้ปัจจัยทางเทคนิค


การวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยทางเทคนิค
            การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นการศึกษาพฤติกรรมของราคาหุ้น หรือพฤติกรรมของตลาดในอดีต โดยใช้หลักสถิติ เพื่อนำมาใช้คาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในอนาคต และช่วยให้นักลงทุนหาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม โดยข้อมูลหลักที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค ได้แก่ ระดับราคา และปริมาณการซื้อขายหุ้น ทั้งนี้ ทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคมีหลากหลายทฤษฎี ในที่นี้จะขอกล่าวถึงทฤษฎีพื้นฐานที่สำคัญที่นักลงทุนควรทราบเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนในเบื้องต้น

http://www.tsi-thailand.org

ข้อสมมติฐานในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิคที่นักลงทุนควรทราบ

            1. ราคาตลาดของหลักทรัพย์ได้สะท้อนให้ทราบถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ โดยราคาตลาดจะถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของหลักทรัพย์
            2. ราคาของหลักทรัพย์จะเคลื่อนไหวในลักษณะเป็นแนวโน้ม และมีความต่อเนื่อง
            3. ลักษณะของราคาหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นในอดีตจะเกิดขึ้นซ้ำอีกในอนาคต

http://www.tsi-thailand.org

แนวโน้ม และเส้นแนวโน้ม (Trend Line)

            เป็นการบ่งบอกถึงลักษณะการเคลื่อนไหวโดยรวมของราคาหุ้นภายในช่วงเวลาสั้นๆ ระยะหนึ่ง โดยรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นอาจเคลื่อนไหวโดยมีแนวโน้มเป็นเส้นตรงในระยะยาว หรือมีแนวโน้มการเคลื่อนไหวที่ต่างรูปแบบออกไปดังต่อไปนี้

           *เส้นแนวโน้มขึ้นเป็นเส้นตรง (uptrend) จะแสดงให้เห็นถึงระดับที่ราคาหุ้นสูงสุด จะอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคาสูงสุดครั้งก่อน หรือราคาหุ้นต่ำสุดก็จะอยู่สูงกว่าราคาหุ้นต่ำสุดครั้งก่อน หรือแปลความได้ว่าราคาหุ้นอยู่ในช่วงขาขึ้นนั่นเอง

http://www.tsi-thailand.org
        

         ให้นักลงทุนลากเส้นจากจุดที่ 1 ไปจุดที่ 3 โดยให้ส่วนปลายจุดที่ 3 เลยออกไป หากราคามีการปรับตัวถึงจุดที่ 5 จะเป็นสัญญาณยืนยันของ Uptrend ดังนั้นหากราคามีการปรับตัวลงมาใกล้ Uptrend อีกครั้งที่จุดที่ 7 จะเป็นจุดที่นักลงทุนควรซื้อตามสัญญาณทางเทคนิค

http://www.tsi-thailand.org
แนวโน้ม และ เส้นแนวโน้ม (Trend Line)* เส้นแนวโน้มลงเป็นเส้นตรง (Downtrend) จะแสดงให้เห็นถึงระดับที่ราคาหุ้นต่ำสุด จะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าราคาต่ำสุดครั้งก่อน หรือราคาหุ้นสูงสุดก็จะอยู่ต่ำกว่าราคาหุ้นสูงสุดครั้งก่อน หรือแปลความได้ว่าราคาหุ้นอยู่ในช่วงขาลงนั่นเอง

ตัวอย่างการใช้เส้นแนวโน้มลงเพื่อหาจังหวะขาย

http://www.tsi-thailand.org
          ให้นักลงทุนลากเส้นจากจุดที่ 1 ไปจุดที่ 3 โดยให้ส่วนปลายของจุดที่ 3 เลยออกไป หากราคาหุ้นไม่สามารถข้ามเส้น Downtrend Line ในจุดที่ 5 ได้จะเป็นสัญญาณยืนยันเส้น Downtrend Line ดังนั้นหากราคาหุ้นมีการปรับตัวขึ้นมาใกล้ Downtrend Line อีกครั้ง เช่น จุดที่ 7 นักลงทุนควรขายหุ้น ณ จุดนี้

              * เส้นแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลง หรือแนวโน้มราบ (Sideways) จะแสดงให้เห็นลักษณะการปรับตัวของราคาหุ้นในช่วงแคบๆ อาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงที่มีอุปสงค์และอุปทานในหุ้นนั้นใกล้เคียงกัน กล่าวคือ ถ้าราคาหุ้นที่สูงขึ้นครั้งใหม่จะเท่ากับที่เคยสูงขึ้นครั้งก่อน ในขณะที่ถ้าราคาหุ้นต่ำลงครั้งใหม่จะเท่ากับหรือใกล้เคียงกับราคาที่ต่ำลงครั้งก่อน

http://www.tsi-thailand.org

แนวรับ และ แนวต้าน (Support and Resistance)
        
แนวคิดนี้มีหลักการ คือ เมื่อราคาหุ้นได้ลดลงมาถึง ณ ระดับราคาที่เป็นแนวรับ (Support Level) แล้วก็จะมีแรงซื้อเข้ามารองรับ ทำให้ระดับราคาหุ้นมีแนวโน้มที่จะไม่ลดต่ำลง ในทางตรงกันข้าม เมื่อระดับราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นไปถึง ณ ระดับราคาที่เป็นแนวต้าน (Resistance Level) จะเป็นระดับราคาที่มีแรงขายมาก โดยแรงขายนั้นอาจเพียงพอที่จะหยุดราคาหุ้นไม่ให้สูงไปกว่าระดับราคานี้ได้

        จากตัวอย่างเครื่องมือต่างๆ ที่ได้กล่าวไปในตอนต้น ทำให้เราทราบว่าการวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นเพียงข้อมูลเพื่อใช้หาจังหวะที่เหมาะสมในการซื้อ หรือขายหุ้น หรือระยะเวลาในการถือครองหุ้นเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ลงทุนควรพิจารณาการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคด้วย จึงจะทำให้การลงทุนของนักลงทุนมีประสิทธิภาพมากที่สุด

http://www.tsi-thailand.org

   โดยทั่วไป ราคาหุ้นจะเคลื่อนไหวจากแนวรับขึ้นไปสู่แนวต้าน และจากแนวต้านลงมาสู่แนวรับ กล่าวคือ เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงระหว่างแนวรับและแนวต้าน และภายหลังช่วงเวลาหนึ่ง ราคาหุ้นอาจสูงขึ้นจนทะลุแนวต้าน หรือลดต่ำลงกว่าแนวรับ
         เทคนิคการลงทุน คือ ควรพิจารณาซื้อหุ้นเมื่อราคาหุ้นอยู่บริเวณแนวรับ และขายเมื่อราคาหุ้นอยู่บริเวณแนวต้าน และควรวิเคราะห์ว่าราคาหุ้นกำลังจะเคลื่อนไหวทะลุแนวรับหรือแนวต้านเมื่อใด เพื่อที่จะสามารถวางแผนการลงทุนในระยะต่อไปได้
            นอกจากทฤษฎีหรือแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีทฤษฎีหรือแนวคิดอื่นๆ เกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคที่น่าสนใจอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น...
  • ทฤษฎีดาว (Dow’s Theory)
  • ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Averages)
  • รูปแบบราคา (Price Pattern)
  • แผนภูมิแท่งเทียน (Candlesticks)
  • แผนภูมิ Point & Figure
  • ดัชนีบ่งชี้ (Indicators)
  • เครื่องมือทางเทคนิคอื่นๆ
  • ฯลฯ  
***ซึ่งผู้ลงทุนสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหลักสูตรอบรมสัมมนา หรือตามเว็บไซต์ต่างๆ
          กล่าวโดยสรุป... “การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค” เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถคาดการณ์ทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น รวมทั้งสามารถหาจังหวะที่เหมาะสมในการซื้อขายหุ้น หรือระยะเวลาในการถือครองหุ้นได้
ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ
บทความโดย : The Stock Exchange of Thailand

  มาถึงตรงนี้... คุณคงรู้จักตนเอง รู้จักขั้นตอนการซื้อขาย และรู้จักตราสารประเภทต่างๆ มากขึ้นแล้ว แต่อย่าเพิ่งใจร้อนตัดสินใจลงทุน เพราะการลงทุนที่ดีและมีโอกาสประสบความสำเร็จจะต้องมี “การบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนที่ดี”

            เมื่อพูดถึงคำว่า “พอร์ตหรือพอร์ตโฟลิโอ” หลายคนอาจสงสัยว่า “คืออะไร” “จะบริหารพอร์ตได้อย่างไร”และอีกสารพัดสารพันคำถามที่จะตามมา ดังนั้นลองมาทำความรู้จักกับคำว่า “พอร์ต” กันก่อนดีกว่า
       ****ในทางปฏิบัติ ผู้ลงทุนจึงควรวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เพื่อค้นหาหุ้นที่น่าลงทุน ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อหาจังหวะในการเข้าลงทุน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถตัดสินใจลงทุนในหุ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


 รู้จักพอร์ตการลงทุน



  โดยผู้ลงทุนคนหนึ่งอาจมีพอร์ตการลงทุนหลายพอร์ตตามวัตถุประสงค์ของการลงทุนในเงินก้อนนั้น ซึ่งแต่ละคนอาจจัดสัดส่วนการลงทุนที่แตกต่างกันตามระดับความเสี่ยงที่แต่ละคนยอมรับได้ 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มีข้อสงสัยสามารถแสดงความคิดเห็นเข้ามาได้ครับ เรายินดีตอบกลับให้...