บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ในวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ

         ดั่งทฤษฏีที่กล่าวไว้ว่าเราควรจะมอง2สิ่งนี้ให้ยึดติดกันไว้เสมอๆ ห้ามลืมสิ่งใดสิ่งหนึ่งเด็ดขาดเพราะมันจะนำคุณไปสู่ความเสี่ยงในอนาคต ในมุมมองของธุรกิจมี 1 ทฤษฎีที่น่าสนใจและสามารถนำมาเชื่อมโยงกันได้ ที่จะสอดคล้องกับคำว่า "ในวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ" นั่นคืิอ? 

***ทฤษฎี SWOT คือ ชื่อของทฤษฎีหนึ่งทางด้านการตลาด ที่ใช้สำหรับวิเคราะห์สภาพโดยทั่วไปขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นในด้านจุดแข็ง จุดอ่อน สำหรับการวางแผนการดำเนินงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต แต่เราได้หยิบยกในเฉพาะส่วนที่จะมาประยุกต์กับตลาดหุ้นเท่านั้น 

      โดยสิ่งที่เราจะนำมาพูดถึงจะมีแค่ 2 ส่วนจากทั้งหมดตามหลักการของทฤษฏีSWOT..........เริ่มกันเลย....ส่วนแรก Opportunities (O) คืออะไร? มันคือโอกาสของธุรกิจ โดยมองว่าธุรกิจที่เรากำลังดำเนินการอยู่มีสภาพแวดล้อมหรือปััจจัยใดที่จะเข้ามาช่วยผลักดันธุรกิจเราให้มีโอกาสเสริมสร้างความแข็งแกร่ง(Strengths (S))ได้เพิ่มขึ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อมในระดับที่เรียกว่า "มหาภาค" และถ้าเราจะพูดถึงตลาดหุ้นบ้างล่ะ...โอกาสมันคืออะไร?....โอกาสในตลาดหุ้นมันก็คือ.............ยังบอกไม่ได้.....เพราะอะไร???....เพราะเราต้องรู้จักก่อนว่าอะไรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโอกาสในตลาดจริงๆ(เอาที่ส่วนใหญ่และมีผลกระทบค่อนข้างมากในตลาดเท่านั้นนะครับ)....นั้นคือตลาดในต่างประเทศนั่นเอง ...ตลาด...DOW JONES ที่ใครๆรู้จักกันดีนั่นเอง เพราะอะไรมันถึงมีผลกระทบกับตลาดบ้านเราลองไปศึกษาเพิ่มเติมดูเอาเองน่ะ....แต่ให้แนวคิดไว้ว่า....ประเทศสหรัฐอเมริกา (UNITED STATES OF AMERICA) เป็นประเทศที่มีผลประโยชน์กับทุกประเทศทั่วโลกและมีระบบเศรษฐกิจ การเมืองเชื่อมโยงกับทุกประเทศ...แน่นอนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ทุกประเทศจะต้องไปอิงกับตลาดสหรัฐ....และมันเกี่ยวอย่างไรกับบ้านเรา ต้องบอกไว้ว่านักลงทุนในบ้านเราส่วนใหญ่ซื้อ-ขายหุ้นโดยเชื่อมโยง อิงกับตลาดสหรัฐอยู่แล้ว ถ้ามันลงแน่นอนนักลงทุนก็คงกังวนและต้องสนใจ เพราะอะไร?........เพราะการรับรู้ การคัดกรอง ช่วงเวลา ซึ่งทำให้การรับรู้ข่าวสารต่างกัน และยังมีเครื่องมือที่ใช้ ซึ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในการกำหนดผลแพ้-ชนะ ทั้งหมดกล่าวคือ ถ้าDOW JONES ลงมันส่งผลต่อSET INDEXบ้านเราแน่นอน ถ้าDOW JONESขึ้นนักลงทุนก็คงสบายใจ และเศรษฐกิจมหาภาคก็มีผลต่อเศรษฐกิจจุลภาคเสมอ เหมือนกับที่ว่าหุ้นใหญ่ก็มีผลกับหุ้นเล็กเสมอไม่ทางตรงก็ทางอ้อม 
สรุปคือ......โอกาสในตลาดหุ้นมันมีอยู่เสมอ เช่น การที่DOW JONESขึ้น SET INDEXก็น่าจะมีโอกาสขึ้นหรือช่วยผ่อนคลายสภาวะจิตใจในตลาดได้ไม่มากก็น้อย หุ้นตัวใหญ่จำพวก(SET50 ,SET100) ก็มีโอกาสขึ้น และส่งผลทำให้ตัวเล็ก(1-5-10-15 บาท) อาจจะลง ส่วนทำไมตัวเล็กถึงลงไว้มีโอกาสจะมาบอกกล่าวต่อไป ต่อไปให้โฟกัสไปที่ดัชนี DOW JONES ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ดัชนี้มันลงก็ให้ตั้งสมมติฐานไว้เลยว่า....ตลาดในประเทศต้องลงแน่นอน ดังนั้นหุ้นตัวใหญ่ก็ต้องลง เราก็มีโอกาศที่จะซื้อเก็บไว้ แต่ถ้าตัวเล็กลงล่ะก็มีโอกาสที่เราจะซื้อเช่นกัน ซึ่งจะสรุปใหเดูดังภาพที่1 ดังนั้นโอกาสก็คือ การที่เราจะได้ซื้อหุ้นในราคาที่ถูก และเมื่อใดก็ตามที่หุ้นขนาดใหญ่ลง แน่นอนว่าหุ้นตัวเล็กก็จะผลักตัวเองขึ้น ทำให้เราก็สามารถเลือกเข้าไปซื้อเล่นได้ เพราะหุ้นตัวใหญ่ ตัวเล็กจะสลับกันขึ้นเสมอ(ไม่ทุกตัวน่ะ) แต่ต้องเลือกเล่นให้ถูกจังหวะด้วย จะซื้อตอนลงหรือตอนขึ้นก็ว่าไป
ภาพที่1
ในทางกลับกัน เมื่อใดที่ตัวใหญ่ขึ้น ตัวเล็กก็จะลง ดังภาพที่2

ภาพที่2
      เพื่อความแม่นยำในการมองหาโอกาสให้เน้นไปที่ดัชนีต่างประเทศให้มากเป็นหลัก เพราะมันจะสะท้อนทิศทางตลาดได้ดี แต่ไม่เน้นสำหรับการใช้เป็นเครื่องมือในการมองตลาดระยะยาวเด็ดขาด และให้เราลองไล่การวิเคราะห์มาเป็นระดับๆ เช่น วิเคราะห์จากภาพใหญ่ไปจนเห็นระดับล่างๆ จะทำให้เรามองภาพตลาดได้ดีกว่าเดิม ตามแนวคิดการวิเคราะห์หุ้นจากปัจจัยพื้นฐานมาเป็นอันดับแรก ต่อไปส่วนที่ 2 คือ Threats (T) อุปสรรคที่อาจเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อราคาหุ้นเราจะขออธิบายแตกต่างจากคนอื่น โดยให้มองว่าการที่ตลาดอยู่ในช่วงที่ลง มันก็เป็นสิ่งที่ดีที่จะทำให้เราได้พบเจอกับOโอกาสอีกครั้งที่จะได้เลือกเล่นหุ้นที่ดีและราคาถูก เนื่องจากสภาวะแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อกิจการนั่นๆ เช่น DOW JONESลง หุ้นขนาดเล็กลง เป็นต้น 
     ทั้งหมดหลักการก็คือ เมื่อใดที่ตลาดใหญ่ลง ก็ให้สันนิฐานไว้ว่า หุ้นตัวเล็กก็ต้องขึ้นแน่นอน และเมื่อใดที่ตัวเล็กลง เราก็ยังสามารถจะเข้าไปเล่นตัวใหญ่ต่อได้ สลับการเล่นไปมาได้อย่างนี้ แต่ทั้งหมดต้องดูจังหวะการเล่นด้วย 

Disclaimer : ข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏ เป็นการแค่แนวทางในการศึกษาเรื่องหุ้นเท่านั้นไม่ได้เป็นการชี้นำแต่อย่างใด และไม่รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ความแตกต่างระหว่างผู้ลงทุนรายย่อยกับรายใหญ่

           
        ปัจจุบันการเล่นหุ้นเพื่อสู้กับตลาดเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะตลาดเองก็มีผู้ลงทุนรายใหญ่กระจายตัวกันอยู่มากมาย บางกลุ่มก็ทำงานกับเป็นเครือข่าย(Data link) ระหว่างกัน แจ้งข้อมูลข่าวสารระหว่างกันตลอดเวลา และถ้าเทียบเป็นกลุ่มผู้ลงทุนก็เป็นสิ่งที่ท้าทายมากที่จะเราสามารถเข้าไปหยิบเงินส่วนต่างมาได้ มันมีคำถามขึ้นมาว่าเพราะอะไร.....คำตอบง่ายมาก
       1.Power คือ...กลุ่มที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันมีเงินมาก ดังนั้นการที่มีเงินมากก็สามารถจะกำหนดราคาให้ขยับขึ้นลงได้(**ถ้าสถาบันซื้อจริง5ช่องก็คงไม่อยู่) และการที่ราคาเริ่มขยับมันก็จะเป็นสัญญานให้คนส่วนใหญ่เข้าไปซื้อ ซึ่งแน่นอนการที่เข้าไปซื้อทีหลังต้นทุนก็ย่อมสูงกว่าอยู่แล้ว และถ้าพูดว่าเราขายก่อนได้มัย คำตอบก็คือได้ แต่เราคิดถูกมัยว่าเราจะขายก่อนเขาได้ มาดูข้อต่อไป
      2.Data คือ...การที่้ผู้ลงทุนรายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นสถาบัน หรือกลุ่มต่างๆที่มีเม็ดเงินที่สูง คนเหล่านั้นก็ต้องสรรหาเครื่องมือที่ดีที่สุดมาใช้ ซึ่งถ้าเป็นผู้ลงทุนรายย่อยไม่มีทางแน่นอนที่จะมี มันแสดงให้เห็นได้เลยว่าข้อมูลที่เราได้รับเทียบไม่ได้กับข้อมูลของคนเหล่านั้นมีได้เลย แน่นอนการมีข้อมูลมากก็ย่อมที่จะรับรู้อะไรๆได้ก่อน การขยับตัวก็เร็วกว่า
     3.Plan คือ...ผู้ลงทุนรายใหญ่ เนื่องจากมีปริมาณเงินที่มากรูปแบบการวางแผนก็ต้องรัดกุมเป็นธรรมดา
     4.Notification คือ...เช่น ...มีเซ็ตระบบการแจ้งเตือนเมื่อตลาดมีทิศทางที่รุนแรง เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ ว่าจะทำอะไร1234...แนวทางปฎิบัติเป็นอย่างไร


^^^สรุปจากทั้งหมดที่กล่าวมาเราได้อะไร...คำตอบคือ...ทำให้เราเข้าว่าการเล่นหุ้นเป็นเรื่องที่ยากที่เราจะสามารถอยู่ในตลาดได้นานและมีกำไร เก็บเกี่ยวดอกผล ....ถ้าเรายังเล่นอย่างประมาทและเสี่ยงกับมัน ดังนั้นแนวทางที่ดีที่สุดคือเราต้องเลือกลงทุนอย่างฉลาด เน้นการลงทุนแบบระยะยาว....พยายามศึกษาและทำตามให้ได้........และรับลองว่า...เราจะเป็นคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในตลาดทุนแน่นอน.....ครับ

วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ขอฝากบทความเตือนใจหลายๆคนของดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากรไว้ให้เป็นสิ่งพึ่งระลึกในการเล่นหุ้นเสมอครับ..."HUNGER GAME...เกมล่าหุ้น"

        การเล่นหุ้นช่วงหุ้นบูมอย่างในช่วงนี้ ทำให้ผมนึกไปถึงภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง ที่ผมได้ดูและรู้สึกว่าสนุกและมีข้อคิด หรือปรัชญาที่แหลมคม


        หนังเรื่องนี้ทำมาจากหนังสือที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์ ในระดับเดียวกับเรื่องแฮรี่พอร์ตเตอร์ชื่อ The Hunger Game  หรือแปลตรงๆ คือ "เกมของผู้ที่หิวโหย" เนื้อเรื่องคร่าวๆ มีว่ามหาอาณาจักรแห่งหนึ่ง ได้ปราบปรามรัฐที่เป็นกบฏสิบกว่าแห่งสำเร็จ หลังจากนั้นทุกปี แต่ละรัฐต้องส่งคนมารัฐละสองคน เพื่อเป็น "เครื่องบรรณาการ" ให้กับอาณาจักร เพื่อเข้าร่วม "เล่นเกม" ที่ชื่อว่า Hunger Game ซึ่งคนที่อยู่ในจักรวรรดิจะได้ชมสดแบบ "เรียลลิตี้โชว์"

กฎและวิธีการเล่นเกมนี้ คือ คนจำนวนยี่สิบกว่าคนนี้ จะถูกนำไปปล่อยไว้ในป่าพร้อมๆ กับกองอาหารและอาวุธต่างๆ หน้าที่ของแต่ละคนคือ พวกเขาต้องพยายามฆ่าคนอื่นให้หมด คนที่รอดเพียงคนเดียวจะเป็นผู้ชนะและจะกลายเป็น "ฮีโร่" ที่จะได้รับการต้อนรับอย่างสมเกียรติ โดยที่ "ป่า" หรือ "สนามแข่งขัน" จะมีกล้องติดอยู่ตลอด  
 
นอกจากนั้น คนที่คุมเกมการแข่งขันซึ่งคล้ายๆ กับโปรดิวเซอร์ ยังส่งสัญญาณที่เป็นเสียง และปรับสภาพแวดล้อม หรือแม้แต่ส่งยา หรือสัตว์ร้ายเข้าไปในจุดที่ต้องการ เพื่อที่จะทำให้เกมน่าสนุกมากขึ้น
 
สาระสำคัญ นอกจากความสนุกสนานแล้ว ผมคิดว่าอยู่ที่เรื่องของการเผยถึง "สันดาน" ที่อยู่เบื้องลึกของคนเมื่อต้องเผชิญกับอันตรายที่ใหญ่หลวงคือความตาย  และกลยุทธ์ที่ถูกต้องในการเอาตัวรอด ประเด็นก็คือ ตั้งแต่เริ่มต้นการแข่งขันเมื่อทุกคนถูกปล่อยตัวข้างกองอาหารและอาวุธ  คนส่วนใหญ่ต่างก็รีบวิ่งเข้าไปหยิบฉวยอาวุธที่ตนเองถนัดและคว้าอาหารทันที คนที่ทำได้ก่อนก็จะพยายามฆ่าคนที่อยู่ใกล้ที่สุดทันที   
 
นี่เป็นกลยุทธ์ที่ผิด โค้ช ซึ่งเป็นผู้ที่เคยชนะในการแข่งขันปีก่อนๆ บอกกับตัวเอก (นางเอก) ของเรื่องว่า ห้ามเข้าไปแย่งชิงอาวุธ หรืออาหารที่ถูกวาง "ล่อ"ไว้ เพราะในสถานการณ์แบบนั้น โอกาสที่จะถูกฆ่ามีสูง
 
กลยุทธ์ที่จะทำให้ชนะนั้น โค้ช บอกว่า เราต้องไม่พยายามฆ่าใครเลย สิ่งที่ต้องทำก็คือ พยายาม "หนี" หรืออย่างมากก็คือป้องกันตัว แม้จะมีโอกาส  เราก็จะต้องไม่ฆ่าถ้าไม่จำเป็น พูดง่ายๆ ว่าอย่าทำตัวให้เป็นเป้าหมายในการถูกล่า ตรงกันข้าม ปล่อยให้คนอื่นฆ่ากันเองดีกว่า
 
เหตุการณ์ในภาพยนตร์ ช่วงหนึ่งก็มีการรวมตัวของผู้เข้าแข่งขันกลุ่มหนึ่ง เพื่อไล่ล่าคนอื่นที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม นี่ก็เป็นเรื่องความคิดที่คนพยายามที่จะ "ร่วมกัน" เพื่อที่จะกำจัดคู่แข่งบางส่วนออกไป ซึ่งจะทำให้กลุ่มของตนได้ประโยชน์ แต่หลังจากนั้น พวกเขาก็ต้องฆ่ากันเอง ด้วยวิธีนี้ พวกเขาคิดว่าโอกาสที่ตนเองจะชนะก็มีมากขึ้น เรื่องทำนองนี้ ผมคิดว่าเกิดขึ้นตลอดเวลาในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ เช่น การที่รัสเซียทำสัญญาเป็น "พันธมิตร" กับเยอรมนีช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อที่จะแบ่งกันยึดประเทศที่อ่อนแอกว่า ที่ทั้งคู่ต่างก็อยากจะครอบครอง แต่ในที่สุดเมื่อสำเร็จแล้ว เยอรมนีก็หันกระบอกปืนใส่โซเวียต และรบกันรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สงครามของโลก
 
มองดูการซื้อขายหุ้นระยะนี้ ผมพบว่า บางทีนักเล่นหุ้นบางกลุ่ม อาจกำลังเล่น  Hunger Game กันอยู่ นั่นคือพวกเขากำลังเข้าไปเล่นหุ้นที่มีการเก็งกำไรรุนแรงมากที่ปรากฏตัวขึ้นมาแทบทุกวัน วันละไม่น้อยกว่า 3-4 ตัว หุ้นเหล่านี้เท่าที่ผมสังเกตและใช้วิจารณญาณส่วนตัว ก็พบว่าเป็นหุ้นที่มีคุณสมบัติร่วมอย่างน้อย 2-3 อย่าง ได้แก่
 
ข้อหนึ่ง เป็นหุ้นที่มี Free Float หรือหุ้นหมุนเวียนในตลาดน้อย หรือไม่ก็เป็นหุ้นที่มีมูลค่าตลาดทั้งหมดของหุ้นต่ำถึงต่ำมาก สรุปก็คือ หุ้นทั้งหมดที่เล่นกันได้ของหุ้นตัวนั้น คิดตามราคาตลาดแล้ว ส่วนใหญ่มีไม่เกิน 4-500 ล้านบาท ที่ใหญ่หน่อยก็มีไม่เกิน 2-3,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเม็ดเงินของนักลงทุนส่วนบุคคลรายใหญ่ๆ แล้ว ต้องบอกว่าน้อยมาก ขนาดที่ว่า ถ้า "ขาใหญ่" ต้องการ เขาคนเดียวก็กวาดซื้อหุ้นที่หมุนเวียนในตลาดได้ทั้งหมด แต่จริงๆ แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้น เพราะมีนักเล่นหุ้นจำนวนมาก ที่พร้อมจะเข้ามาซื้อกันคนละเล็กละน้อยก็เพียงพอที่จะทำให้หุ้นวิ่งขึ้นไปสู่ "สวรรค์ชั้นดาวดึงส์" ได้แล้ว
 
ข้อสอง หุ้นเหล่านั้น ไม่มีสถิติราคาหุ้นในอดีตที่ยาวพอที่จะทำให้คน "ติดยึด" หรือถ้ามีราคาก็เป็นราคาที่ "เก่า" มาก ไม่สามารถใช้อ้างอิงได้ ดังนั้น  เวลาที่ราคาจะปรับตัวขึ้นไป จึงไม่ค่อยมี "ข้อจำกัด" 
 
ข้อสาม หุ้นที่จะวิ่งจริงๆ ส่วนใหญ่อยู่ในหุ้น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกที่ร้อนแรงที่สุดช่วงนี้คือ หุ้น IPO หรือหุ้นที่เข้าจดทะเบียนในตลาด โดยเฉพาะในตลาด  MAI  หุ้นกลุ่มที่สอง คือ กลุ่ม Turnaround หรือหุ้นที่ฟื้นตัวจากการล้มละลาย หรือปัญหารุนแรงทางธุรกิจ หรือการเงิน และกลุ่มสุดท้าย คือ หุ้นที่มีข่าวดี หรือเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของบริษัท เช่นจะมีคนมาเทคโอเวอร์ หรือเปลี่ยนธุรกิจของบริษัทใหม่ จากธุรกิจที่ย่ำแย่เป็นธุรกิจ "แห่งอนาคต"
 
การที่หุ้นดังกล่าวทั้งสามกลุ่ม ปรับตัวขึ้นไปรุนแรงมาก เช่น หุ้น IPO เข้าตลาดวันแรกขึ้นไปแล้วจากราคาจองหลายสิบหรือบางตัวหลายร้อยเปอร์เซ็นต์นั้น  ถ้ามองจากข้อมูลพื้นฐานที่ที่ปรึกษาการเงินคิดคำนวณไว้ น่าจะเชื่อได้ว่า ไม่น่าเป็นราคาที่เหมาะสม เหนือสิ่งอื่นใด ประวัติศาสตร์หุ้นยาวนานก็บอกอยู่แล้วว่า หุ้น IPO นั้น "It Probably Overpriced" ความหมายคือ ราคาที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อขายให้ประชาชนนั้น จะสูงเกินพื้นฐาน  หุ้นฟื้นตัวเอง บางครั้งโดยเฉพาะในช่วงแรกของการฟื้นตัวอาจจะดูดีกว่าปกติ   
 
แต่หลังจากนั้น อาจจะกลับไปสู่ "พื้นฐานที่แท้จริง" ของธุรกิจที่ว่ามันอาจจะไม่ใช่ธุรกิจที่ดี และถ้าจะเป็นข้อเตือนใจ คือ คำพูดของ วอร์เร็น บัฟเฟตต์ ที่ว่า "Turnarounds Seldom Turn Around" แปลว่าหุ้นฟื้นตัวนั้น น้อยครั้งจะฟื้น สุดท้ายคือหุ้นที่มีข่าวระดับ เปลี่ยนแปลงธุรกิจ หรือพื้นฐานของธุรกิจ นี่เป็นอะไรที่ต้องระวังมาก เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่กิจการจะประสบความสำเร็จในชั่วข้ามคืนในสิ่งที่ตนเพิ่งจะเริ่ม
 
การเข้าไปร่วมเล่น "Hunger Game" หรือที่ผมอยากจะเรียกว่า "เกมล่าหุ้น" ผมคิดว่าเป็นเรื่องอันตรายมาก เพราะบ่อยครั้ง เราเข้าไปช่วงที่ราคาขึ้นไปมากแล้ว เหนือสิ่งอื่นใด อาจมี "โปรดิวเซอร์" หรือคนจัดฉากและกำหนดพล็อตเรื่องไว้แล้ว โอกาสชนะอาจมีน้อยกว่าที่คิด   
 
จริงอยู่ เกมอาจท้าทายน่าตื่นเต้น ผู้ชนะอาจเป็น "ฮีโร่" แต่นี่เป็นคนส่วนน้อย อาจไม่ใช่คนเดียวแบบในหนัง แต่ "คนตาย" อาจมีมากกว่า ถ้าเรารักจะเล่นก็ควรต้องมีกลยุทธ์ที่ดีเพื่อเอาตัวรอด แต่สำหรับผมแล้ว ผมปฏิเสธที่จะเล่น เราไม่ได้ถูกบังคับอย่างในภาพยนตร์ให้ต้องเข้าร่วมในเกมล่าหุ้นนี้ ผมเองเชื่อในสุภาษิตที่ว่า ความตื่นเต้นกับผลตอบแทนในตลาดหุ้นนั้น มักจะไปกันคนละทาง

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การเคลื่อนไหวต้องสัมพันธ์กับปริมาณเสมอ.....เป็นพื้นฐานที่จะนำมาใช้วิเคราะห์ในระดับสูงต่อไป


         
        ปัจจุบันมีคนจำนวนมากที่รู้จักวิธีใช้เครื่องมือในตลาดทุน แต่มีน้อยที่จะรู้และเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมวันนี้เลยจะขอกล่าวถึงเครื่องมือ 2 ตัวที่จะเข้ามาช่วยควบคุมความเสี่ยงของเราให้อยู่ในสถานะที่รับได้อาจจะเป็นเครื่องมือที่ง่ายๆแต่ถ้าเรานำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเรามากที่เดียว มาเริ่มกันเลย........เครื่องมือนั้นก็คือ......
·         Most Active Volume
·         Top Gainer
***(ต้องใช้คู่กันเสมอ) เพราะมันจะเป็นตัวที่จะตรวจสอบข้อมูลซึ่งกันและกัน

        ยกตัวอย่าง  .....เราสังเกตเห็นหุ้น Aจาก Tap Manu Top Gainer ว่าหุ้น A มีมูลค่าสูงขึ้นเปลี่ยนแปลงจากราคาเปิดช่วงที่ 1 สมมุติเลือกมาสัก 1 ตัว เราสังเกตแล้วว่ามีการเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ เราก็จะได้หุ้น A มา และเราจะรู้ได้อย่างไรว่าหุ้นA น่าซื้อ วิธีการก็คือ ลองเข้าไปดูต่อที่ Tap Manu Most Active Volume ถ้ามีหุ้น A อยู่ก็แสดงว่าน่าซื้อ เพราะอะไร...เพราะมันจะแสดงให้เห็นเลยว่าราคาหุ้นนั้นๆที่เปลี่ยนแปลงไป...มันเกิดจากปริมาณการซื้อจำนวนมากที่เข้ามาซื้อไม่ได้เกิดขึ้นจากการปั่น หรือเกิดจากรายการซื้อที่ผิดปกติ  ซึ่งสุดท้ายจะทำให้หุ้น A เป็นหุ้นที่น่าสนใจที่เราจะเข้าไปซื้อและทำกำไรได้ตัวหนึ่ง....จากการที่เราอาศัยเครื่องมือดังกล่าวคัดกรองมาแล้ว
      
        ***หมายเหตุ...ข้อมูลทั้งหมดที่เขียนขึ้นเป็นการเสนอแค่แนวทางที่เกี่ยวข้องกับการดูราคาหุ้นที่อิงกับปริมาณตามหลักปกตินิยมเท่านั้นที่จะช่วยให้เราจำกัดความเสี่ยงให้ได้ดียิ่งขึ้น..... ซึ่งจริงๆแล้วทั้งหมดอยู่ที่แต่ละคนจะหยิบอะไรมาแล้วมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับตัวเองและเกิดประโยชน์กับผู้ใช้ให้มากที่สุดครับ.

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

"เซียน VI ไทย" มักมีความเชื่อที่อันตราย(ในมุมมองของ VALUE INVESTOR)

 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร กับบทความ "ความเชื่อที่อันตราย" ของ VI
          VI จำนวนไม่น้อยที่ผมได้พบเห็น โดยเฉพาะตามเว็บไซต์ต่างๆ มักมีศรัทธา หรือความเชื่อที่ยึดมั่นใน "แนวทาง VI" อย่างมั่นคง


     จนผมรู้สึกว่า "มากเกินไป" ส่วนหนึ่งของความเชื่อนี้ อาจเป็นเพราะ "ความสำเร็จของ VI" ทั้งในระดับโลกอย่าง วอร์เร็น บัฟเฟตต์ และปีเตอร์ ลินช์ และ "เซียน VI ไทย" จำนวนมากในช่วงเร็วๆ นี้  ที่เสนอแนวทางแบบ VI อย่างกว้างขวางและภาคภูมิ จนทำให้แนวทางอื่นในเรื่องการลงทุนกลายเป็นเรื่องที่อาจไร้สาระ หรือตลกในสายตาของ VI ที่ติดตามศึกษาทฤษฎี VI อย่างเข้มข้น และมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงมาก   
 
     แน่นอน ความเชื่อเหล่านี้ เป็นสิ่งดีที่จะยึดเหนี่ยวจิตใจไม่ให้เราไขว้เขวไปจากแนวทางที่ถูกต้อง แต่ถ้ายึดมั่นเกินไป บางครั้งอาจเป็นอันตรายเหมือนกัน เพราะจะไม่ยืดหยุ่น และถ้าเกิดความผิดพลาด ความเสียหายจะมากกว่าปกติ ลองดูว่าความเชื่อ หรือศรัทธาเรื่องไหนที่ผมเห็นว่าเราต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
 
    เรื่องแรกคือ เชื่อว่าเราสามารถคำนวณ Intrinsic Value หรือมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นได้แม่นยำ และผิดพลาดมากในระดับทศนิยม และถ้าราคาหุ้นต่ำกว่านั้นมาก ทำให้เรามี  Margin Of Safety (MOS) มากพอ เราก็จะซื้อหรือถือหุ้นไว้ไม่ว่าสถานการณ์ตลาดจะเป็นอย่างไร หลายคนพร้อม "ตีแตก" ถ้า  MOS  สูงลิ่ว
 
     ประเด็นคือ มูลค่าที่แท้จริง ถ้าจะคำนวณจริงๆ ต้องมีสมมุติฐานสำคัญคือ ต้องรู้ว่ากำไรของบริษัทในอนาคตระยะยาวมากเป็นอย่างไร เงินสดหรือปันผลที่เราจะได้เท่าไร และจะโตอย่างไร นอกจากนั้น ต้องรู้ถึงต้นทุนของเงินทุนในตลาดด้วย ทั้งหมดนั้น ถ้าเปลี่ยนแปลงผิดจากที่คาดไว้ แม้เพียงเล็กน้อย มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปมากมาย   
 
     หลายคนอาจใช้สูตรง่ายๆ แบบหยาบๆ เช่น ใช้ค่า PE ว่า กิจการควรมีค่า PE 15 เท่า ถ้ารู้ว่ากำไรปีนี้จะเป็นเท่าไร ก็หามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นได้ แต่นี่ไม่ใช่มูลค่าที่แท้จริงแน่ๆ ยกเว้นว่า กำไรของบริษัทปีต่อๆ ไปอีกยาวนาน ในอนาคตไม่ลดลง และค่า PE ยังเป็น 15 เท่า ไม่ใช่ 7 เท่า  
 
    ในความคิดของผม มูลค่าที่แท้จริงที่เราคิดไว้ จะเป็นช่วงที่กว้างไม่ใช่เลขตัวเดียว ที่จริงผมสนใจเฉพาะหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าหุ้นที่ต่ำที่สุดที่ผมคำนวณได้ ส่วนมูลค่าหุ้นที่สูงที่สุด ผมแทบไม่สนใจที่จะคำนวณ เหนือสิ่งอื่นใด มูลค่าหุ้นเติบโตและลดลงได้ตามเวลาที่ผ่านไป
 
     เรื่องที่สองคือ  VI จำนวนมากไม่เชื่อเรื่อง  Efficient Market หรือตลาดหุ้นที่มีประสิทธิภาพ พวกเขาคิดว่า "นายตลาด" ผิดพลาดเสมอ นายตลาดเป็นคนที่ "คุ้มดีคุ้มร้าย" ตามที่เบน เกรแฮม บอกไว้ เขาให้ราคาหุ้นที่ไม่มีเหตุผล บางครั้งก็สูงเกินพื้นฐานมาก บางครั้งก็ต่ำกว่าพื้นฐาน เราสามารถฉกฉวยประโยชน์โดยซื้อหุ้นที่มีราคา "ถูมากๆ" หรือขายหุ้นที่มีราคา "แพงมากๆ" ได้
 
    ผมก็เชื่อว่าหุ้นบางตัว และตลาดหุ้นบางสถานการณ์ มีหุ้นที่มีราคาแตกต่างจากมูลค่าพื้นฐานจริงๆ โดยเฉพาะบริษัทที่ถูกละเลยไม่มีคนสนใจ และเป็นหุ้นขนาดเล็ก แต่หุ้นที่มีขนาดใหญ่ หรือหุ้นที่มีคนซื้อขายและติดตามมากๆ หรือเป็นหุ้น "ยอดนิยม" ราคาหุ้นอาจจะสะท้อนพื้นฐานได้ใกล้เคียง   
 
     พูดง่ายๆ ราคาหุ้นโดยเฉลี่ยเหมาะสม จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำกำไรได้สูงมากๆ แบบง่ายๆ ได้ ดังนั้น "นายตลาด" ก็คือคนทุกคนที่มาเล่นหุ้นตัวที่เรากำลังเล่นอยู่  บางครั้งอาจจะเห็นว่าคนอื่น รู้น้อยกว่าเรา จำนวนมากเล่นหุ้นโดยไม่เคยวิเคราะห์ด้วยซ้ำไป  
 
    แต่อย่าลืมว่า มีคนอื่นอีกหลายคน ที่อาจรู้มากกว่าเรา ที่สำคัญ พวกเขามี "น้ำหนัก" หรือเม็ดเงินสูงมาก ถ้าคำนวณแล้ว อาจมีฝีมือ หรือความรู้ในตัวหุ้นต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว ผลคือ ที่คิดว่าเรา "แน่" นั้น ที่จริงเราเป็น "หมู" อย่าลืมว่าแม้แต่ เบน เกรแฮม ก่อนตายยังยอมรับว่า ตลาดหุ้นอเมริกาได้พัฒนาจน "มีประสิทธิภาพ" ไม่เหมือนสมัยที่เขาเสนอแนวการลงทุนแบบ VI ย้อนหลังไปหลายสิบปี
 
    เรื่องที่สามคือ ความเชื่อที่ว่า ถ้าต้องการทำผลตอบแทนการลงทุนที่สูงต่อเนื่องยาวนานได้ ต้องซื้อหุ้นที่ Undervalue หรือหุ้นถูก และขายหุ้นที่ Overvalue หรือ Fair Value หรือหุ้นที่แพง หรือเต็มมูลค่า ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้ได้ผลตอบแทนปีละ 30-40% หรืออาจมากกว่านั้นได้ในระยะยาวอาจเป็นสิบๆ ปี ด้วยวิธีนี้  เราอาจถือหุ้นแต่ละตัวโดยเฉลี่ยไม่เกินหนึ่งปี    
 
     การที่ได้ผลตอบแทนสูงแบบนี้ได้ เพราะหุ้นแต่ละตัว เมื่อมีราคาถูก เป็นหุ้น VI จะมีโอกาสมี  Rerate หรือการปรับราคาใหม่ คือมีช่วงที่หุ้นวิ่งขึ้นไปเร็วๆ บางทีเป็นเท่าตัว หรือหลายเท่าตัว เมื่อมีคนมาพบและ "แห่" เข้ามาซื้อ ทำให้ราคาขึ้นไปแรงมาก ทำให้หุ้นอาจไม่ Undervalue ต่อไป จึงต้องขายทำกำไรไปหาหุ้นตัวอื่น พวกเขาคิดว่า การซื้อแล้วถือไว้ยาวนาน จะไม่มีทางทำกำไรได้มาก เพราะระยะยาว แม้แต่หุ้นระดับ "ซุปเปอร์สต็อก" มักมีกำไรเติบโตไม่เกิน15-20% ต่อปี ซึ่งราคาหุ้นจะวิ่งไปตามผลกำไร คือปีละประมาณไม่เกิน 15-20%
 
      เหตุที่ผมคิดว่า ความเชื่อนี้อันตรายอยู่ที่ว่า ทำให้เรามีแนวโน้มเป็น Trader หรือนักเก็งกำไรแทนจะเป็นนักลงทุน ในระยะสั้นๆ ช่วงตลาดหุ้นบูม การเทรดหุ้นอาจทำกำไรได้ดีปีละหลายสิบเปอร์เซ็นต์ติดต่อกันบางที 3-4 ปี แต่ระยะยาว ถ้าช่วงตลาดไม่ได้เอื้อ การทำกำไรแบบนั้นเป็นเรื่องยาก การที่ถือหุ้นที่เป็นบริษัทยอดเยี่ยมและทำกำไรปีละ 15-20% ต่อเนื่องยาวนานจะปลอดภัยกว่า และผมเชื่อว่าโดยรวมจะให้ผลตอบแทนดีกว่า
 
      สุดท้ายที่ผมอยากจะพูดถึงคือ ความเชื่อที่ว่า หุ้นที่มีค่า  PE และ PB  ต่ำมาก คือหุ้นที่มีราคาถูกและเป็นหุ้น VI แน่นอนโดยไม่ได้พิจารณาลึกซึ้งถึงพื้นฐานของกิจการ อันตรายของความเชื่อคือ ประการแรก ค่า B หรือมูลค่าทางบัญชีของบริษัท เป็นมูลค่าอดีตที่บริษัทลงทุนไปในรูปการซื้อทรัพย์สินเช่น โรงงาน อุปกรณ์ แต่มูลค่าที่แท้จริง หรือราคาตลาดของทรัพย์สิน อาจน้อยกว่ามาก  
 
      ตัวอย่างคือมูลค่าโรงงานและเครื่องจักรสิ่งทอของบริษัทเบิร์กไชร์ของบัฟเฟตต์ ตอนที่ต้องปิดกิจการ ราคาขายเท่ากับเศษเหล็ก ดังนั้น PB ที่ต่ำต่อเนื่องจึงอาจไม่มีความหมาย ต่อมาเมื่อค่า PE ลดลงต่ำมากเช่นกัน แต่นี่อาจเป็นเพราะกำไรในปีนั้นดีขึ้นมาก เพราะภาวะอุตสาหกรรม เช่น ราคาสินค้า หรือวัตถุดิบที่เป็นโภคภัณฑ์ปรับตัวขึ้น หรือลงชั่วคราวที่ทำให้กำไรของบริษัทกระโดดขึ้นเพียงปีหรือสองปี   
 
      หลังจากนั้นค่า PE อาจกลับมาสูงอย่างเดิม ดังนั้น ค่า PE ที่เห็นว่าต่ำ ก็ไม่มีความหมายเช่นเดียวกัน สรุปแล้ว แม้หุ้นจะมีทั้งค่า  PE และ PB ที่ต่ำมาก ก็ไม่ได้เป็นหุ้นถูก ถ้าเราเข้าไปลงทุน และคิดว่าเรากำลังเจอหุ้นที่เป็นสุดยอด VI เราอาจขาดทุนได้มากอย่างไม่น่าเชื่อได้

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

เวลาและจังหวะสำคัญไหม?


         คนส่วนใหญ่มักจะเล่นหุ้นตามอารมณ์ของตนเอง ลืมที่จะคิดและประเมินสถานการณ์ก่อน เืลือกที่จะซื้อในจังหวะที่หุ้นขึ้นและมักจะเลือกขายในจังหวะที่มันลง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันมีหลายปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาก่อนการตัดสินใจแต่ละครั้ง ว่าเราจะซื้อจะขายตอนไหน...แต่ก่อนอื่นจะขอพูดถึงการกำหนดกลยุทธ์ก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งสำคัญมาก เราต้องรู้ก่อนว่าจะเล่นอย่างไร สมมติว่าเป็นวันพรุ่งนี้(T+1,2,3,...) T คือวันนี้ ซึ่งวันที่ T เราจะต้องดูว่าเราจะตั้งปัจจัยอะไรบ้างมาพิจารณา เช่น เราจะซื้อหุ้นครั้งนี้ 1 ตัวกำหนดว่าถือไว้ อย่างน้อย 1,2,3,...เดือนและกำหนดว่าถ้่าขายจะขายที่ราคาเท่านี้ หรือขายเมื่อราคาหุ้นOverpricedแล้ว ซึ่งการถือแต่ละครั้งอาจจะใช้เกณฑ์การลงทุนระยะสั้น ระยะยาวก็ได้ ฯลฯ ส่วนเกณฑ์การขายอาจจะใช้เรื่องอัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios)เข้ามาช่วยและค่อยเข้าไปซื้อจริง โดยขออธิบายดังนี้


  • เลือกหุ้นจากอะไร  ===>................. (กรอก) ...............เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมเด่น(เอาเรื่่องSWOTมาจับก็ได้),ความผันผวนสูง(Swing High-Low) ฯลฯ
  • ช่วงราคาหุ้น  ===>................. (กรอก) ...............เช่น 5,10,60 ขึ้นไป(แล้วแต่สะดวกตามฐานะเลย) ถ้าหุ้นราคาสูงก็เสี่ยงน้อยหน่อย ราคาต่ำก็เสี่ยงสูงมากหน่อย
  • ระยะเวลาการลง  ===>................. (กรอก) ...............เช่น น้อยกว่า 6 เดือน,6 เดือน-1 ปี,1 ปี-5 ปี และมากกว่า 5 ปีขึ้นไป
  • ซื้อเมื่อไร(จังหวะ)  ===>................. (กรอก) ...............เช่น อุตสาหกรรมนั้นๆอยู่ในสถานการณ์วิกฤต อาจจะข่าวหรืออะไรก็ตามซึ่งมันส่งผลด้านจิตวิทยาเท่านั้นเและคนตกใจ แต่เราวิเคราะห์มาอย่างดีแล้วว่าธุรกิจนี้ดี เราก็เข้าไปซื้อเลย โดยเลือกช่วงที่คนริ่มเข้ามาซื้อน้อยๆแรงขายน้อยลง เพื่อให้ซื้อได้ในราคาีที่ดีที่สุด สมเหตุสมผล แต่ไม่ตองกังวนมากว่าซื้อถูกหรือยัง ซึ่งส่วนนี้มันจะเชื่อมกับเรื่องระยะการลง ถ้าเราซื้อและถือยาวก็ปล่อยได้ รอขายที่ราคาสูงๆได้เลย             


  • ขายเมื่อไป ===> ............(กรอก) ...............เช่น P/BV เริ่มสูง/เริ่มต่ำก็ว่าไป หรือเกณฑ์อื่นๆ สุดแล้วแต่..

(ขอเน้นเฉพาะแค่ 2 ส่วนน่ะครับ)

***ทุกคนต้องกรอกและทำตามแผนที่นั้น(อย่างมีวินัย)รับรองว่าการลงทุนจะเป็นเรื่องที่ง่ายและสร้างผลตอบแทนให้คุณอย่างงดงามแน่นอนครับ

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ความสำเร็จสร้างได้...ถ้าใจพร้อม..!!




...บนโลกนี้ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ หากคุณคิดที่จะทำมัน ทุกคนก็คิดได้ใช่มัย? แต่ทำไม?น้อยคนนักที่จะทำได้......อาร์คีมีดิส.. เคยกล่าวไว้ว่า "หากหาคานงัดที่ยาวพอ ..แล้วผมจะยกโลกให้คุณดู" ....มันสะท้อนให้เห็นว่าคุณไม่ต้องใช้แรงมากเลย แต่ขอให้ได้ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ก็พอ...ซึ่งมันก็คือปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้เราประสบความสำเร็วในธุรกิจได้ง่าย และย่อมเปลี่ยนแปลงอะไรหลายๆอย่างบนโลกใบนี้ได้จริงๆ

                 "Leverage is about maximizing your results in a minimum amount of time"
"พลังที่ยิ่งใหญ่ คือ การเพิ่มปริมาณผลลัพธ์ให้มากที่สุด โดยใช้เวลาให้น้อยที่สุด"
คู่กับ
"LEVERAGE IS THE ABILITY TO DO MORE AND MORE (AND MORE..) WITH LESS AND LESS" ด้วยการออกแรงให้น้อยลง
(T.Harv Eker)
  • ดั่งคำนิยามที่ว่า "ความมั่งคง คืออะไร? ก็คือ การที่เราทำทุกสิ่งบนโลกโดยใช้ร่างกาย สติ ปัญญาที่น้อยที่สุดและได้ผลกลับมาที่ง่าย มักจะตรงกับข้ามกับคำว่า ความยากจน คือ ออกแรงเยอะ แต่ได้ผลน้อย"

ยกตัวอย่าง...นักเขียน นักแต่งเพลง ผู้สร้างเทคโนโลยีต่างๆขึ้นมาบนโลก ล้วนแล้วแต่สร้างสิ่งเล็กๆขึ้นมาทั้งนั้นแต่ผลของมันยิ่งใหญ่เหลือเกิน...



วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

สัญญาณ..หุ้น




****กดติดตามช่อง == https://goo2url.com/dhplZ
ติดต่อปล่อย-เช่า ลิ้งค์ไลน์ = https://line.me/R/ti/p/%40dxm3601l
โทร.097-2299888 ไลน์ไอดี @markwinn หรือ 0056797


    เรามาดูกันว่า...มันมีเครื่องมืออะไรบ้างสามารถจับสัญญาณหุ้นได้..ในที่นี้จะขออ้างอิงกับระบบซอฟต์แวร์
...โดยบริษัทออนไลน์แอสเซ็ทจำกัดในแบบภสพรวมน่ะครับ....เพราะปัจจุบันระบบนี้เป็นระบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดตลอดการณ์.....


Superior Feature Options จะถูกแบ่งออกเป็นOptionsต่างๆ

    เรามาเริ่มกันเลย... Options นั้น...จะเป็นตัวที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุนให้กับนักลงทุนโดย...แบ่งเป็น 4 ส่วนดังนี้
   1. ส่วนของ " Scan Feature " ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาในการค้นหาหุ้นที่น่าสนใจลงทุนในเงื่อนไขที่นักลงทุนแต่ละท่านต้องการไม่เหมือนกัน โดยสามารถนำปัจจัยทางพื้นฐาน เทคนิค มาเป็นเงื่อนไขในการค้นหาหุ้นที่นักลงทุนสนใจได้
  2. ส่วนของ " Ranking & Compare " ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนเปรียบเทียบหุ้นในด้านพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในกรณีที่นักลงทุนสนใจหุ้นมากกว่าหนึ่งตัวแล้วต้องการเลือกหุ้นที่ราคาน่าจะวิ่งได้ดีกว่า รวมถึงฟังชั่นเพิ่มเงื่อนไขด้านสภาพคล่องเข้าไปใน Most Active เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้งานจริงได้มากขึ้น
  3. ส่วนของ " Convenient Feature " ซึ่งจะเพิ่มความสะดวกในการใช้งานโปรแกรมเพื่อค้นหาข้อมูลสนับสนุนด้านการลงทุน

  4. ส่วนของ "  More Database " ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่เพิ่มเติมเข้ามาทั้งในส่วนของกราฟ และ Volume Analysis เพื่อช่วยในเรื่องการวิเคราะห์ด้านปัจจัยพื้นฐานบางอย่างว่าถูกหรือแพงกว่าในอดีตที่ราคาเท่ากัน หรือประยุกต์ใช้เพื่อหาความสัมพันธ์ด้านต้นทุนราคาของนักลงทุนที่ซื้อขายในรอบ 90 วันย้อนหลัง


โดยทั้งหมดจะมีรายละเอียดดังนี้

**หมวดที่1** (Scan Feature) เป็นเครื่องมือประเภท คัดกรองหุ้นในรูปแบบต่างๆ 
  • Buy Sell Trend Scan คือ เครื่องมือที่ค้นหาหุ้นที่มีเปอร์เซ็นต์ Buy Volume มากกว่า Sell Volumeและมีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ย 5 วัน หรือดูเฉพาะปริมาณซื้อขายสะสมและมูลค่าซื้อขายสะสมตามที่นักลงทุนต้องการได้ เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมการไล่ซื้อฝั่ง OFFER (%Buy Volume มากๆ)โดยที่อยู่ในเกณฑ์หรือสภาพคล่องที่เรานักลงทุนคิดว่าเหมาะสมกับเงินทุนของตนเอง หรือในทิศทางตรงกันข้ามถ้าเราค้นพบหุ้นที่มี %Sell Volume มากๆพร้อมกับทิศทางราคาที่ลดลงค่อนข้างมากแสดงว่าหุ้นตัวนี้มีพฤติกรรมการทุบราคาซึ่งนักลงทุนอาจต้องตัดสินใจขายหุ้นดังกล่าวออกมา เพราะอาจมีแนวโน้มที่พฤติกรรมตัวนี้อาจจะมีอย่างต่อเนื่องสักระยะหนึ่ง


  • Top Fundamental Scan คือ เครื่องมือที่ค้นหาหุ้นที่ใช้ปัจจัยเพื่อฐานเบื้องต้นที่น่าสนใจในการลงทุน ดังนี้ ได้แก่ PE, PBV, Dividend ROA, ROE, Dividend Coverage, D/E, Market Cap., Net Profit Growth, Revenue Growth และมูลค่าซื้อขายเฉลี่ย 5 วัน นอกจากนั้นเครื่องมือตัวนี้ยังให้ความสำคัญกับสภาพคล่องอีกด้วย เนื่องจากหุ้นที่ค่าปัจจัยพื้นฐานดีบางตัวอาจไม่มีสภาพคล่อง รวมถึงนักลงทุนสามารถเลือกการเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลังได้ตามแต่ที่นักลงทุนแต่ละท่านต้องการ เช่น ให้เรียงลำดับหุ้นที่มี PBV ต่ำก่อน ถ้าเท่ากันให้เรียงตาม PE หลังจากนั้นค่อย Dividend เป็นต้น


  •  Advance Technical Scan คือ เครื่องมือที่ค้นหาหุ้นที่สัญญาณซื้อทางกราฟเทคนิคแบบสามารถตั้งเงื่อนไขเองได้โดยมี Indicator ให้เลือกดังนี้ ได้แก่ Simple Moving Avg, Exponential Moving, Wight Moving Average,Bolinger Band, Avg, MACD, RSI, Slow Stochastic และ มูลค่าซื้อขายสะสมวันก่อนหน้า โดยสามารถ Scan Indicator ใน Period ดังนี้ คือ Day, 240 นาที, 120 นาที,60 นาที โดยราคาที่นำมาคำนวณ Indicator จะเป็นแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลาคือ นำราคาปิดภาคเช้ามาคำนวณ และราคาปิดเย็นมาคำนวณ


  • Total Scan คือ เครื่องมือที่ค้นหาหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานและเทคนิคตามที่ต้องการหรือการรวม Top Fundamental และ Advance Technical Scan เข้าด้วยกัน และเพิ่มเติมเงื่อนไขด้าน Vulation บางอย่างเช่น ค่า Beta ของหุ้นเปรียบเทียบกับ Set และ Sector ในรอบระยะเวลา 6,30,90 วัน รวมถึง Price Pattern ของราคาหุ้นแบบง่ายๆทำให้เหมาะกับนักลงทุนที่ให้ความสำคัญทั้งปัจจัยทางพื้นฐานและเทคนิคร่วมกัน


  • Compare Avg Vol Scan คือ เครื่องมือที่พัฒนาต่อยอดมาจาก Function เดิมใน Template Compare AVG Vol 5 (Hotkey F6) โดยสามารถตั้งเงื่อนไขต่างๆ เพิ่มเติมเข้าไป ซึ่งได้แก่ %Compare, %Buy Volume และ %Chg เพื่อค้นหาหุ้นที่มีความผิดปกติด้านปริมาณ และมีพฤติกรรมการไล่ซื้อราคาฝั่ง Offer เหมาะสำหรับนักเก็งกำไรระยะสั้น



**หมวดที่2** (Ranking & Compare Feature) จะเป็นเครื่องมือประเภทช่วยในเรื่องการเปรียบเทียบและเรียงลำดับ
  • Beta View By Sector คือ การดูค่า Beta ของหุ้นทุกตัวใน Sector ที่นักลงทุนเลือกเพื่อเปรียบเทียบว่าหุ้นที่ใดในกลุ่มที่มีพฤติกรรมความเคลื่อนไหวดีกว่าตัวอื่นๆ ในกลุ่มบ้าง



  • Most Swing คือ การดูราคาหุ้นที่มีการแกว่งตัวของราคาจาก Low ถึง High คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับราคาปิดวันก่อนหน้ามากที่สุด โดยแสดงผลทั้งกระดาน Mainboard, Foreign และ MAI


  • Most Active Gainer/Loser คือ เครื่องมือที่พัฒนาต่อยอดมาจาก Most Active Gainer/Loser โดยจะคัดเฉพาะหุ้นที่มีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ย 5 วันมากกว่า 10 ล้านบาทขึ้นไปมาแสดงผล เนื่องจาก Most Active Gainer/Loser ในแบบปัจจุบันจะแสดงผลหุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำขึ้นมาด้วยเช่นกัน ทำให้เครื่องมือไม่มีประสิทธิภาพมากเพียงพอในการใช้วิเคราะห์




**หมวดที่3** (Convenient Feature) เครื่องมือประเภทอำนวยความสะดวกในการใช้งาน 
  • Annual Registration Statement / SAA Consensus คือ การเพิ่มความสามารถในการ Link เชื่อมโยงไปยังหน้ารายงานประจำปี หรือบทวิเคราะห์จากสมาคมนักวิเคราะห์ของหุ้นบริษัทที่ท่านสนใจได้จากการคลิกขวาที่ Symbol หุ้นตัวนั้นๆ




  • Smart Browser คือ เครื่องมือที่ไว้เปิดเว็บไซต์ที่ท่านสนใจและ Save เก็บไว้เป็น Template เช่น Save เว็บไซต์ Yahoo Finance ไว้เป็น Template ในโปรแกรม eFin Smart Portal เป็นต้น

  • Link Compare Graph คือ การเพิ่มความสามารถในการ Link เชื่อมโยงไปยังหน้า Compare Graph ระหว่างหุ้นที่ท่านสนใจกับ Sector, Industry และ Set เพื่อดูแนวโน้มการขึ้นลงของราคาว่าเป็นไปตาม Sector,Industry และ Set หรือไม่ และมีสัดส่วนในการเคลื่อนไหวราคาขึ้นลงแรงกว่าหรือไม่

  • Price Advance คือ ตาราง Price ที่นักลงทุนสามารถกำหนด Column ได้เองว่าต้องการดูค่าใดบ้างเพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนที่แตกต่างกัน พร้อมทั้งสามารถ Export ออกมาเป็น File Excel ได้ด้วยสำหรับนักลงทุนที่ต้องการเก็บข้อมูล


  • Volume Analysis คือ การเพิ่มส่วนของการดูข้อมูลแบบช่วงระยะเวลาวันที่เราต้องการเข้าไป เช่น ช่วงวันที่ 5 - 6 ก.พ. ว่ามีการซื้อขายที่ราคาเท่าไรบ้าง และแต่ละราคามีปริมาณการซื้อขายเท่าไร และจัดเป็น Buy/Sell Volume เท่าไรบ้าง



**หมวดที่4** (More Database) ฐานข้อมูลที่มากขึ้น 
  • เพิ่มการดูค่า PE, P/BV ในกราฟ ซึ่งทำให้สามารถประยุกต์ใช้กราฟในเรื่องของพื้นฐานเข้ามาด้วย เช่น ราคาหุ้นบางตัวเท่ากับปัจจุบันแต่ค่า PE ปัจจุบันต่ำกว่าในอดีต ทำให้หุ้นตัวนี้ราคาถูกในเชิงพื้นฐาน
  • เพิ่มความสามารถในการดูข้อมูลย้อนหลังจาก Volume Analysis ได้จากเดิมที่ดูได้สูงสุดเพียง30 วันเป็น 90 วัน ซึ่งทำให้นักลงทุนสามารถวิเคราะห์ทุนของนักลงทุนที่เข้ามาซื้อขายในรอบระยะเวลาที่นักลงทุนต้องการเพิ่มการดูค่า PE, P/BV ในกราฟรายวันได้ ซึ่งทำให้สามารถประยุกต์ใช้กราฟในเรื่องของพื้นฐานเข้ามาด้วย เช่น ราคาหุ้นบางตัวเท่ากับปัจจุบันแต่ค่า PE ปัจจุบันต่ำกว่าในอดีต ทำให้หุ้นตัวนี้ราคาถูกในเชิงพื้นฐาน

  • เพิ่ม NVDR สะสมในหุ้นรายตัวเข้าไปในกราฟ เพื่อดูว่าหุ้นตัวที่เราสนใจ NVDR มีการสะสมเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพื่อใช้เป็นตัวแทนต่างชาติได้ทางหนึ่งว่าเข้าสะสมหุ้นตัวนี้หรือไม่
  • เพิ่มข้อมูลต่างๆใน Short Financial เพื่อช่วยในการวิเคราะห์เชิงพื้นฐานมากขึ้น โดยค่าที่เพิ่มเติมมีดังนี้
                - D/E Ratio สัดส่วนหนี้สินต่อทุน
                - Gearing (%) สัดส่วนหนี้สินที่หักเงินสดแล้วคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของส่วนผู้ถือหุ้น
                - ROL เปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนของหนี้สิน
                - Dividend Coverage สัดส่วนกำไรสุทธิคิดเป็นกี่เท่าของเงินปันผล
                - Cash เงินสด
                - Temp Invest เงินลงทุนระยะสั้น

     ***เนื่องจากปัจจุบันมีเครื่องมือที่เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์มากมาย เราจำเป็นต้องเลือกใช้เฉพาะที่สำคัญๆก็พอ เช่น Most Active Value,Most Active Volume,Top Gainers,Top Losers,Top Swings แค่นี้ก็แถบจะครอบคลุมทุกอย่างสำหรับการจับสัญญาณการซื้อขาย***


****ติดต่อ*******

หลวงพ่อโสธร ทุกรุ่น
กลุ่มปิดWebpage :::  https://www.facebook.com/groups/1440143539623775/


โสธร กรมตำรวจ 80 ปี


เว็บไซต์เพื่อการศึกษา :::   https://www.facebook.com/99sothorn